1 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

ARV และ VARUNA เปิดรับสมัครนักศึกษา สตาร์ทอัพ นักวิจัย และนวัตกรทั่วโลก

ร่วมแข่งขัน AI & Robotics Hackathon 2022 ในหัวข้อ Enabling AI for Zero Hunger and Climate Action มุ่งนำ AgriTech รับมือความท้าทายจากภาวะขาดแคลนอาหาร
และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

Business

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ผู้นำด้านการพัฒนา และให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ในเครือ ปตท.สผ. และบริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด (VARUNA) ผู้นำการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ภายใต้เครือ ARV จัดงาน AI & Robotics Hackathon 2022: Open House เปิดตัวการแข่งขัน Hackathon ประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ Enabling AI for Zero Hunger and Climate Action การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงด้าน AgriTech เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเกษตรกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนอาหาร อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และแนวทางการต่อยอดเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน พร้อมต่อยอดการแข่งขันจากระดับประเทศสู่ระดับนานาชาติ เปิดโอกาสให้ผู้สมัครทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา Start-up, Programmer, Innovator หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ ทั้งชาวไทยและผู้สมัครจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ และนับเป็นก้าวสำคัญสู่โอกาสที่จะได้ร่วมงานกับ ARV ในอนาคต

ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) กล่าวว่าARV มีความมุ่งมั่นในการเฟ้นหาโซลูชั่นต่างๆ ที่จะมาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ตอบโจทย์บรรลุตามเป้าหมายและนำพาสังคมโลกไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เห็นได้จากความสำเร็จในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมาใน ด้วยจำนวนบุคลากรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงกว่า 300 คนในปัจจุบัน การก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. หรือ PTIC และโครงการ 5G x UAV SANDBOX ที่วังจันทร์ วัลเลย์ รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยธุรกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาต่อยอดทางธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนการจัดแข่งขัน AI & Robotics Hackathon อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทั้งหมดนี้คือส่วนสำคัญในการสร้างสนามทดลองนวัตกรรมขนาดใหญ่ที่จะนำมาซึ่งเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า คู่ค้า และสังคมโลก โดยบริษัทมีความพร้อมในทรัพยากรด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเพื่อเร่งพัฒนาบุคลากรผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี หรือการลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและธุรกิจในอุตสาหกรรมการเกษตร แก้ไขวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของโลก ลดความอดอยากหิวโหย (Zero Hunger) ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักที่สำคัญสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และไม่ใช่แค่เพียงการมุ่งหวังผลในประเทศไทย แต่ครอบคลุมไปถึงระดับนานาชาติ”

โดยทาง คุณพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด (Varuna) ได้กล่าวถึงแนวโน้มการใช้ AI และ Robotics ในการรับมือกับภาวะการขาดแคลนอาหาร อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปว่า “ปัจจุบัน กว่า 25% ของประชากรวัยทำงานของโลกต้องแบกรับภาระในการผลิตอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงประชากรโลกกว่า 7,500 ล้านคน และด้วยแนวโน้มการเติบโตของประชากรโลกวันนี้ ในช่วงเวลาอีก 30 ปีนับจากนี้ โลกจะต้องผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงดูผู้คนในปริมาณที่เท่ากับอาหารที่ผลิตได้ช่วงเวลาถึง 5,000 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤติโควิด-19 ยังส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกยากจนขึ้น เกิดเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่คือเราจะสร้างระบบอาหารของโลกที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้อย่างไร

Varuna จึงมีพันธกิจในการนำเทคเทคโนโลยีอัจฉริยะ มาขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคการเกษตรและส่งเสริมระบบนิเวศ ภายใต้สองแนวทางที่สำคัญคือ การผลิตอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างผลผลิตที่สูงขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการลดการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์มเกษตรกรรมอัจฉริยะแบบครบวงจร (End-to-End Smart Farm Management) ที่ใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่มี อาทิ Data Analytics, UAV, Remote Sensing และ Machine Learning (ML) ตลอดจนแพลตฟอร์มเพื่อใช้ตรวจวัดปริมาณคาร์บอนเครดิต มาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยนวัตกรรมต่างๆ เช่น บริการฉีดพ่นปุ๋ยและสารเคมีอย่างแม่นยำโดยใช้โดรนในแปลงเกษตร การสร้างระบบวิเคราะห์ข้อมูลและแผนที่การใช้ที่ดิน ระบบการตรวจสอบสารอาหารในดินเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินและเลือกปลูกพืชที่เหมาะสม และการคาดการณ์ผลผลิตเพื่อการบริหารจัดการด้านอุปสงค์-อุปทาน เป็นต้น รวมไปถึงการใช้ AI เพื่อการรับมือกับภัยธรรมชาติต่าง ๆ

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิดหลักของการแข่งขัน AI & Robotics Hackathon 2022 ในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ Enabling AI for Zero Hunger and Climate Action เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันได้มีโอกาสได้พัฒนานวัตกรรมด้าน AgriTech ที่จะสามารถรับมือกับความท้าทายจากภาวะขาดแคลนอาหาร จากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมขยายขอบเขตการรับสมัครทีมผู้เข้าแข่งขันจากระดับประเทศสู่ระดับนานาชาติเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลก มีโอกาสแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม”

ด้านคุณสาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล, Head of Technology, Amazon Web Services (Thailand) (AWS) กล่าวถึงอนาคตของการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความยั่งยืนว่า “Amazon มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกในฐานะผู้ซื้อพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดย AWS ได้พัฒนาโซลูชั่นที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ตั้งแต่การติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจก การอนุรักษ์พลังงาน ไปจนถึงการลดปริมาณของเสีย โดยใช้บริการของ AWS เพื่อนำเข้า วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ”

โดยในงาน AI & Robotics Hackathon 2022: Open House ยังมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ Reimagine the Future: How AI-ML Empowering Sustainable Agriculture ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในหลากหลายสาขาชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ Dr. Ravi Khetarpal Executive Secretary สมาคมสถาบันวิจัยการเกษตรแห่งเอเชียแปซิฟิก (APAARI) และผศ.พท.ดร. สรวิศ สุภเวชย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี AI และ ML ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดต้นทุน อนุรักษ์น้ำ และลดการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร ความท้าทายต่าง ๆ ทั้งทางเทคนิค ทางสังคม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะนำข้อมูลในระบบไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมมาทำแผนที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจำแนกประเภทพืชผลในพื้นที่เกษตรกรรม

ปิดท้ายที่การประกาศโจทย์การแข่งขัน โดยคุณธนากร ปัญญาเปียง Machine Learning Engineer, Varuna และผศ.ดร. อนุเผ่า อบแพทย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยโจทย์การแข่งขันครั้งนี้คือ Create a machine learning model to classify crop types in fields using Sentinel-2 satellite images and crop data from Thailand’s eastern region” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเฟ้นหาวิธีการจำแนกพืชผลโดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและภาพถ่ายจากดาวเทียม ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญของแพลตฟอร์ม Varuna ต่อไป เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรไทยในอนาคต

การแข่งขัน AI & Robotics Hackathon 2022 เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก ในรูปแบบทีม 2 – 5 คน ไม่จำกัดอายุ ทั้งนักศึกษา สตร์ทอัพ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Remote Sensing และ ML ตั้งแต่ 18-31 พฤษภาคม 2565 และกิจกรรมการแข่งขันจะจัดขึ้นในวันที่ 18-19 มิถุนายน 2565 และ Final pitching ในวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 50,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับสอง 20,000 บาท พร้อมโอกาสในการร่วมงานกับ ARV หรือบริษัทภายใต้เครือ ARV

Skip to content