โดย คุณชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย)
พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับโลกที่หมุนไปในทุก ๆ ทำให้เหล่าธุรกิจต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ทุก ๆ อย่างผันเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน และเกิดพฤติกรรมการใช้วิถีชีวิตแบบ Now Normal ที่พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ของคนในสังคม หลังจากที่ได้ปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19
เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกัน และนอกเหนือจากสาเหตุที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว สภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก หนึ่งในวิถีชีวิตแบบ Now Normal ของพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้ ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลตนเองและครอบครัวหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ พฤติกรรมการใช้จ่ายที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมากขึ้น สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ของเรา ได้มุ่งมั่นที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับ “การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสำรวจและคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยทุก ๆ สองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้เหล่าธุรกิจสามารถนำข้อมูลวิจัยที่ได้ไปปรับใช้กับแผนการตลาดต่อไป รวมทั้งช่วยนำเสนอไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมุ่งศึกษาไปที่ ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม (Life Living person) หรือ Sei-katsu-sha ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาของฮาคูโฮโด ที่ไม่เพียงแค่อธิบายผู้คนในฐานะผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อธิบายถึงความเป็นบุคคลของผู้บริโภคที่มีชีวิต จิตใจ ไลฟ์สไตล์ แรงบันดาลใจ และความฝันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ผลสำรวจประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ของสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เผยให้เห็นว่า คนไทยนั้นระมัดระวังเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและสุขภาพ ในช่วงที่ยังคงต้องใช้ชีวิตควบคู่ไปกับโควิด-19 ที่ดูเหมือนจะยังไม่จากไปโดยง่าย ดังนั้นอินไซต์คนไทยในช่วงนี้ คือ การใช้ชีวิตที่เน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันควบคู่ไปกับการเสริมภูมิไปในตัว (preventive & proactive health)
สำหรับการใช้ชีวิตในเชิงป้องกัน พฤติกรรมใหม่ที่เริ่มเห็นมากขึ้นของกลุ่มคนไทย คือการหลีกเลี่ยงการไปหาหมอที่โรงพยาบาลแบบเจอพบปะคุณหมอโดยตรง แต่หันหาทางเลือกในการพบหมอผ่านบริการแบบ telemedicine ที่ให้ความปลอดภัยกว่าแถมยังสะดวกสบายเพราะไม่ต้องเดินออกนอกบ้าน โดยเฉพาะคนไทยช่วงอายุ 40-59 ที่ใส่ใจดูแลตัวเองและยังห่วงใยสุขภาพของสมาชิกในบ้าน ดังนั้นบริการ telemedicine จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ให้ความมั่นใจได้ว่า ปลอดภัย ประหยัดเวลา และมีสุขภาพดีแบบไม่เสี่ยง
ในด้านการเสริมสุขภาพ วัยรุ่นไทยหลายคนนอกจากออกกำลังกายแล้ว ยังเริ่มหันมาใส่ใจการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เสริมสุขภาพที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคแต่ยังคงมีราคาไม่แพงจนเกินไป หนึ่งในสินค้าที่เป็นเทรนด์สุขภาพและเข้าถึงได้ง่ายคือ เทรนด์การดื่มเครื่อมดื่มผสมวิตามิน เพราะนอกจากจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้เหมือนกันการทางวิตามินเสริมชนิดเม็ดแล้ว ยังมีรสชาติที่ถูกปากและผ่อนคลายกว่าการดื่มน้ำเปล่าปกติ ถึงแม้ว่าจะต้องยอมจ่ายแพงขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ แต่พวกเขาเชื่อว่านี่คือทางเลือกที่ดีกว่าและคุ้มค่ากว่าการป่วยและจ่ายค่ารักษาในอนาคต ดังนั้นพฤติกรรมการบริโภคแบบเสริมสุขภาพนี้เรียกได้ว่าเป็น แนวความคิดใหม่ สะท้อนการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในยุค new normal อย่างแท้จริง
แม้จะมีข้อจํากัดจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เห็นได้ว่าธุรกิจต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดภายใต้โลกยุคใหม่ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมเพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจผู้บริโภคที่สุด สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หวังว่าธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ จะนำผลการวิจัยข้อและเสนอแนะของสถาบันฯ ไปปรับใช้กับแผนการตลาดของตน เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดเข้มข้นสู่เศรษฐกิจฝืดเคือง และสามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจผู้บริโภคที่สุด
More Stories
J&C เปิดตัวสินค้าใหม่ “HERBALANCE”
โรงพยาบาลวิมุต สถาบันประสาทวิทยา และ Agnos health ร่วมทดสอบการใช้งาน ‘AN AN Bot’ AI ช่วยตอบคำถามผู้ป่วย
ครั้งแรกของซุปตาร์ตัวพ่อ “ณเดชน์ คูกิมิยะ” กับการก้าวสู่วงการนวัตกรรมความงาม!