มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะด้านอาหารและเพิ่มโอกาสทางโภชนาการให้กับผู้ด้อยโอกาส
จากสถานการณ์วิกฤติขยะอาหารกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลก วีวี แชร์ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนหลักในการส่งต่ออาหารที่เหลือจากวงจรธุรกิจไปแจกจ่ายแก่ผู้ที่ขาดแคลนและต้องการอาหารเพื่อดำรงชีวิต
นางศรินทร เมธีวัชรานนท์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ วีวี แชร์ เปิดเผยว่า จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตทั้งปีกลายเป็นขยะอาหาร ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยการผลิตอาหารที่มากเกินความจำเป็น ตลอดจนการขนส่ง การจัดจำหน่าย รวมไปถึงการบริโภคที่ก่อให้เกิดอาหารส่วนเกินเพิ่มขึ้น ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 12.3 การลดปริมาณขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573
มูลนิธิ วีวี แชร์ เป็นองค์กร ที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไรมีวิสัยทัศน์ในการสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันอาหารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต พร้อมทั้งสร้างพันธกิจเป็นพันธมิตรกับทุกภาคส่วนในการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันอย่างมืออาชีพ และมีจุดประสงค์ที่มุ่งเน้นระหว่าง ผู้มีอาหารเหลือกับผู้[MOU2] ขาดแคลนอาหาร พร้อมทั้งเป็นตัวกลางให้กับหน่วยงานผู้บริจาคและผู้รับบริจาคมาพบกัน เพื่อใช้ประโยชน์ของอาหารที่เหลือจากวงจรธุรกิจอาหารมามอบให้แก่องค์กรที่จัดอาหารสำหรับผู้ยากไร้ พร้อมกันนี้ยังมุ่งเน้นในการลดปริมาณขยะอาหาร และเพิ่มโอกาสทางโภชนาการ ให้กับผู้ด้อยโอกาสอีกด้วย
มูลนิธิ วีวี แชร์ มีเป้าหมายเพื่อสังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล เท่าเทียม ภายใต้การร่วมกันแบ่งปัน ด้วยความเชื่อว่าความรักในเพื่อนมนุษย์และความรักในสิ่งแวดล้อม จะเป็นความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเรื่องความอดอยากและขาดแคลนอาหารได้ จึงมุ่งเน้นการทำงานเป็น “ตัวกลาง” แบบสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนงานในประเด็นเรื่องการส่งมอบอาหารให้ถึงมือผู้ยากไร้ พร้อมกับเสริมสร้างพลังจากทุกคนให้เข้ามามีส่วนร่วมผ่านกลไกการส่งต่ออาหารที่ต้องทิ้งเพื่อทำลายไปยังผู้ที่มีความต้องการ ซึ่งมีการจัดการเป็นระบบโดยอาศัยกลไกเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- “พันธกิจเครือข่ายผู้ให้” ประกอบด้วย องค์กรภาคธุรกิจที่มีอาหารเหลือจากวงจรการจำหน่ายในแต่ละวัน อาทิ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เป็นต้น
- “พันธกิจตัวกลาง” เป็นผู้รับอาหารเหลือ แล้วนำไปจัดสรร ส่งต่อในรูปแบบอาหารสด หรือ อาหาร พร้อมรับประทาน อาทิ หน่วยงานภาครัฐ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย เป็นต้น
- “พันธกิจเครือข่ายผู้รับ” เป็นผู้ด้อยโอกาส ขาดแคลนด้านอาหาร อาทิ เครือข่ายคนไร้บ้าน เครือข่ายชุมชน เครือข่ายโรงเรียน วัด องค์กรศาสนา ชุมชนคนงาน เป็นต้น
“มูลนิธิวีวีแชร์เป็น ‘ตัวกลาง’ ให้กับผู้บริจาคและผู้รับบริจาคอาหารเหลือ (Food Waste) เพื่อส่งต่ออาหารจำนวนหนึ่งในวงจรธุรกิจอาหารซึ่งจะต้องทิ้งในทุกวันตามเงื่อนไขทางธุรกิจ ส่งอาหารเหล่านั้นให้กับองค์กรที่จัดปรุงอาหารสำหรับผู้ยากไร้ คนไร้บ้าน ผู้ด้อยโอกาส เพื่อนำไปรับประทานในการดำรงชีวิต พร้อมยังมุ่งเน้นช่วยลดปัญหาปริมาณขยะอาหาร และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย โดยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 จนถึงเดือน มิถุนายน 2565 ได้มีการนำอาหารทั้งหมด 45,081.61 กิโลกรัมและ 18,328 กล่อง รวมทำอาหารได้ถึง 137,704 มื้อ และเรายังมุ่งมั่นที่ขยายความช่วยเหลือออกไปอย่างเต็มที่เพื่อผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง” นางศรินทร กล่าวทิ้งท้าย
More Stories
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
เอสซีจี เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในอาเซียน มอบทุนอีก 3 ประเทศ
คาร์กิลล์ สานต่อ ‘โครงการเกษตรอาหารกลางวัน’ สร้างความยั่งยืนทางอาหารให้เยาวชนไทย ตอกย้ำการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารโลก