26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

15 ทีมสตาร์ทอัพไทยโชว์ผลงานเด่นพร้อมก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจอวกาศ ในงาน Space Economy: Lifting Off 2022

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA เปิดตัวสตาร์ทอัพด้านเทคโลยีอวกาศ 15 รายจากโครงการ“Space Economy : Lifting Off 2022” ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการปั้นสตาร์ทอัพเข้าสู่ภาคธุรกิจในปีที่ผ่านมา  ในปีนี้สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการครอบคลุมเทคโนโลยีอวกาศในหลากหลายสาขาทั้งกลุ่ม Upstream เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดาวเทียมและระบบสนับบสนุน กลุ่ม Downstream การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากอวกาศ และกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเข้าร่วมโครงการด้วย โดยปีนี้มีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 15 บริษัท แบ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีระดับ TRL 4-9 จำนวน 10 ทีม และ TRL 1-3 จำนวน 5 ทีม

โครงการ Space Economy: Lifting Off 2022 เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกับภาคีความร่วมมืออวกาศไทยเพื่อผลักดันเศรษฐกิจอวกาศให้เกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอวกาศให้มีบทบาทและสามารถเติบโตได้ในอุตสาหกรรมอวกาศ โดยได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่ง NIA ได้เฟ้นหาบริษัทสตาร์ทอัพที่มีความสนใจหรืออยู่ในธุรกิจอวกาศของประเทศไทย เพื่อเข้ามาร่วมโครงการบ่มเพาะและพัฒนาในรูปแบบของการร่วมรังสรรค์เพื่อปูทางไปสู่การสร้างเศรษฐกิจอวกาศให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA ได้กล่าวในงานนำเสนอผลงาน (Demo Day)ว่า “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ คือการพัฒนาให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ การสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศเข้าสู่ภาคธุรกิจ จะนำไปสู่การสร้างซัพพลายเชนของผู้พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมอวกาศให้เกิดขึ้นในประเทศ เป้าหมายสำคัญคือการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมมูลค่าสูง การสร้างสตาร์ทอัพอวกาศของ NIA คือการตอบรับกับยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องการผลักดันเทคโนโลยีและกิจการด้านอวกาศ ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีและสามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมอวกาศโลกที่มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์  นอกจากนั้นการสนับสนุนให้เกิดการเทคโนโลยีอวกาศให้เกิดขึ้นในประเทศคือโอกาสต่อยอด

อุตสาหกรรม New S Curve และจะมีส่วนสำคัญในการทำให้อุตสากรรมเกี่ยวเนื่องเช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์  อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพสูงงของประเทศมีการเติบโตได้เช่นกัน”

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ NIA ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากภาคีความร่วมมืออวกาศไทยและหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยโครงการนี้ถือเป็นการนำร่องที่จะพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การนำเสนอผลงานของสตาร์ทอัพทั้ง 15 ทีมได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงานเกือบ 100 คนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์กรธุรกิจชั้นนำ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ ผู้ประกอบการ และ นักลงทุนที่มีความสนใจลงทุนในธุรกิจด้าน Deep Tech

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลสำหรับกลุ่มกลุ่มเทคโนโลยี TRL 1-3 มีผู้ได้รับรางวัลคะแนนสูงสุดจากกรรมการจำนวน 3 รางวัล ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม Solutions Maker

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ทีม LINK Application

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ทีม Advance Space Composite

สำหรับกลุ่มเทคโนโลยี TRL 4-9 มีมีผู้ได้รับรางวัลคะแนนสูงสุดจากกรรมการจำนวน 3 รางวัล ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม Gao Rai

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ทีม Intech

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ทีม VAAM

นอกจากนั้นยังมีรางวัลป๊อปปูล่าร์ โหวตอีก 1 ตัดสินโดยผู้เข้าชมเป็นผู้ร่วมให้คะแนน และทีมที่ได้รับรางวัลป๊อปปูล่าร์ โหวตได้แก่ SpaceDox

โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ สำหรับ TRL ทั้ง 2 ประเภท รวมถึงรางวัลป๊อปปูล่าร์ โหวตจะได้นำผลงานไปแสดงในงาน Startup x Innovation Thailand 2023 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) อีกด้วย

รายชื่อทีมสตาร์ทอัพทั้ง 15 ทีมในโครงการ Space Economy : Lifting Off 2022

เทคโนโลยีระดับ TRL 4-9 ทีม

1. Centro Vision ระบบวิเคราะห์พื้นที่ทางการเกษตรด้วยการใช้โดรนตรวจสอบและข้อมูลเชิงลึกจากภาพถ่ายดาวเทียม

2. ฟาร์มดีมีสุข พลัสแพล็ตฟอร์มครบวงจรเพื่อเกษตรกร สำหรับคาดการณ์ผลผลิต สถานะพืช วิธีจัดการการเพาะปลูก ด้วยภาพถ่ายดาวเทียม

3. Gao Rai – ระบบปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรที่เชื่อมต่อเกษตรกรกับนักขับโดรนรับจ้างเพื่อการเกษตร

4. Intech – แอพพลิเคชั่นครบวงจร เพื่อการเกษตร โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม

5. Manee Lab – ชุดซอฟต์แวร์ระบบย่อย (IP core) สำหรับสร้างอุปกรณ์ที่ใช้บนยานอวกาศ

6. Mush Composite – วัสดุก่อสร้างทำจากเห็ด มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา ทนไฟ มีความทนทาน

7. SpaceDox – ระบบ space traffic management ตรวจสอบและติดตามดาวเทียมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุดาวเทียมชนกันในชั้นบรรยากาศ

8. TemSys – ชุดฝึกการเรียนรู้ระบบรับส่งสัญญาณจากดาวเทียม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น

9. Teveda Corp – ระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอน ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมและระบบ AI

10. VAAM – จานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ 3 แกน ขนาด 6 เมตร

เทคโนโลยีระดับ TRL 1-3 จำนวน 5 ทีม

11. Advance Space Composite – สารเคลือบ เพื่อป้องกัน tin whisker บน PCB board หรือขั้ว d-sub

12. Link Application – แพลตฟอร์มวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับสถาบันการเงินนำไปวิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อ

13. Premium Robotics – แขนหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความปลอดภัย เหมาะกับงานบนอวกาศ

14.Semi-Latus Rectum – บริการบนชั้นอวกาศเพื่อซ่อมแซม บำรุงรักษา เปลี่ยนอะไหล่ เติมเชื้อเพลิงดาวเทียม เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน

15. Solutions Maker – อุปกรณ์รับเวลาที่มีความแม่นยำสูง

Skip to content