โรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยมีมากถึงร้อยละ 32 หรือประมาณ 17.9 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 7 หมื่นราย ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกับทุกวัย (อ้างอิงจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) แน่นอนว่า การรักษาที่ดีที่สุดคือการได้รับการรักษาอย่างตรงจุด ทันเวลา และรวดเร็วที่สุด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG) เล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงได้จัดตั้งศูนย์หัวใจและหลอดเลือดครบวงจรขึ้น เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในเขตจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย โดยได้เปิดให้บริการมาแล้ว 10 ปี พร้อมทั้งได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมาแล้วมากกว่า 40,000 ราย
ทั้งนี้โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG)ได้เข้าร่วมโครงการกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษาได้อย่างครอบคลุม ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติฉุกเฉินภายใต้การรับส่งต่อผู้ป่วยด้วยระบบ Fast Track เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG)ยังได้ร่วมมือกับภาครัฐในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยจัดตั้งศูนย์หัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจรในโรงพยาบาลรัฐ 3 แห่ง อาทิ ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลสิรินธร กรุงเทพมหานคร, ศูนย์หัวใจโรงพยาบาล จังหวัดสมุทรปราการ และศูนย์หัวใจโรงพยาบาล จังหวัดระยอง ที่พร้อมให้การดูแลอย่างเต็มรูปแบบ ตลอด 24 ชั่วโมงและครอบคลุมทุกสิทธิ์การรักษา
นพ.สันติชัย กาลเนาวกุล ศัลยแพทย์ทรวงอกและหัวใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG) เปิดเผยว่า โรคหัวใจมีสาเหตุมาจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เมื่อเส้นเลือดตีบนั่นหมายความว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ อาจส่งผลให้คนไข้ช็อก หากคนไข้ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ภายในระยะเวลา 90 นาทีก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตในเวลาต่อมาได้
“ในปัจจุบันการรักษาโรคหัวใจจะมีสองประเภท ได้แก่ ประเภทแรก คือการขยายเส้นเลือดผ่านสายสวนหรือที่เรียกว่าการทำบอลลูน เป็นการขยายท่อที่ตีบและนำขดลวดไปค้ำยัน เป็นวิธีที่ทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลารวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง และประเภทที่สอง คือการผ่าตัดทำบายพาสเส้นเลือดหัวใจ เป็นวิธีที่มีข้อจำกัด เพราะจำเป็นต้องต้องใช้เครื่องมือแพทย์เฉพาะทางที่ทันสมัย และเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยง มักใช้ในกรณีที่เส้นเลือดแข็งมากหรือหินปูนเกาะเยอะ จนไม่สามารถถ่างขยายได้”
นพ.สันติชัย กล่าวต่อว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีการตรวจพบโรคมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมียอดผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ กรรมพันธุ์และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ในด้านกรรมพันธุ์มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ เช่น ปัญหาภาวะไขมันในเลือดสูง ที่ถ่ายทอดมาจากครอบครัว และปัจจัยการใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่ที่เป็นสาเหตุต้น ๆ ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะพ่วงมาด้วยโรคเส้นเลือดสมองและอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา ส่งผลให้ประเทศไทยมีคนไข้ที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจด้วยวิธีการผ่าตัดบายพาสเฉลี่ย 5 – 7% ต่อปี
“ด้วยศักยภาพและประสบการณ์ในการรักษา ความพร้อมของทีมแพทย์และบุคลากร เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยและครบครัน โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG) ได้เข้าร่วมมือกับทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นผลให้สามารถดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง และสิทธิข้าราชการ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการรักษาผู้ป่วยต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับการรักษา ปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG) เป็นจุดศูนย์กลางของโรงพยาบาลในภาคตะวันออกที่รับผ่าตัดโรคหัวใจ เป็นศูนย์ส่งต่อการรักษาจากโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งยังเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีการผ่าตัดหัวใจในผู้ใหญ่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศอีกด้วย”
สำหรับการให้บริการของศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG) มีทั้งการผ่าตัดบายพาสและการทำบอลลูน แต่ส่วนใหญ่จะเน้นการรักษาแบบบอลลูนมากกว่า เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ใช้เวลาน้อย แผลผ่าตัดเล็กมาก และความเสี่ยงน้อยมาก ซึ่งเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ใช้รักษากับผู้ป่วย ตลอดจนจุดเด่นของเราคือการให้บริการที่รวดเร็ว มีการประสานงานกันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในเวลา หรือ นอกเวลา ครอบคลุมทุกสิทธิ์การรักษา โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือส่วนต่างใด ๆ ในด้านของความปลอดภัย ทางโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (CHG) ให้ความสำคัญกับมาตรฐานของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างทันเวลา รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
สำหรับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค การตรวจโรคหัวใจส่วนใหญ่จะพบในอาการของผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น เส้นเลือดเกือบจะตันแล้ว สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจเช็คสุขภาพหัวใจ (Heart Check Up – กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด) เป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีความเสี่ยงควรควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารอย่างเคร่งครัด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และหมั่นออกกำลังกาย หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่ ใจสั่น หายใจถี่กว่าปกติ มีอาการอ่อนเพลียมากหรือเหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและลดความสี่ยงจากภาวะหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่ได้รับการทำบอลลูนหรือผ่าตัดบายพาสแล้วก็ควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงเช่นเดียวกัน รวมไปถึงการตรวจเช็คเพื่อติดตามการรักษาในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) ยังคงเดินหน้าให้ความร่วมมือและพร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการดูแลสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐานสอดรับกับนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาล ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม (Green Hospital & Zero Waste) ตามแนวทาง ESG เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในการแข่งขัน การสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และการเติบโตอย่างยั่งยืน
More Stories
วีเอชดี ส่ง เมอริช คอฟฟี่ ชิงตลาดกาแฟสุขภาพ 3.4 หมื่นลบ.
BDMS Wellness Clinic คว้ารางวัล CEO of the Year 2024 จาก Bangkok Post
SOLUX Clinic เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ตอกย้ำความสวยที่มีระดับ (พรีเมียม)