ทางพิเศษประจิมรัถยา หรือทางพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทางรวม 16.7 กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมและขนส่งไปยังฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการต่อขยายทางพิเศษ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจรและเพิ่มศักยภาพของระบบคมนาคมขนส่ง โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร บริเวณใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ไปตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิม และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 6 สิ้นสุดโครงการบริเวณใกล้สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ( สถานีกลางบางซื่อ ) เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช บริเวณสถานีขนส่ง (หมอชิต 2) และลงสู่ระดับดินที่บริเวณถนนกำแพงเพชร ๒
ทางพิเศษสายนี้ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ทดสอบการให้บริการ โดยยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราว ระหว่างวันที่ 15 – 17 สิงหาคม 2559และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ( รัชกาลที่ 9 )
กทพ. ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อทางพิเศษไว้แล้ว 6 สายทาง ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1)
ทางพิเศษสายนี้ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ทดสอบการให้บริการ โดยยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษชั่วคราว ระหว่างวันที่ 15 – 17 สิงหาคม 2559และเปิดให้บริการโดยจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ( รัชกาลที่ 9 )
กทพ. ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อทางพิเศษไว้แล้ว 6 สายทาง ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1)
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางพิเศษ เพิ่มขึ้นอีก 1 สายทาง คือ ทางพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตามที่ กทพ. ได้ขอพระราชทานชื่อทางพิเศษ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ ประชาชนและหน่วยงาน
โดย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “ประจิมรัถยา” ซึ่งมีความหมายว่า
” เส้นทางไปยังทิศตะวันตก “
ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2)
ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร )
ทางพิเศษอุดรรัถยา ( บางปะอิน – ปากเกร็ด )
ทางพิเศษบูรพาวิถี ( บางนา – ชลบุรี )
และ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ( บางพลี – สุขสวัสดิ์ )
More Stories
การเคหะแห่งชาติ ระดมกูรูด้านภัยพิบัติ “ ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติ ”
“เอกนัฏ” หนุน “ดีพร้อม” เดินหน้าอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ
การเคหะแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม International Conference on Sustainable Communities for All