สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ และภาคีเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ชวนสัมผัสมหกรรมไอเดียสร้างสรรค์ระดับโลก ภายใต้เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 หรือ Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023) ตลอดทั้ง 9 วัน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้ธีม “urban‘NICE’zation เมือง – มิตร – ดี” หนุนการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและพลิกฟื้นบรรยากาศของเมืองให้สามารถโอบรับ ‘มิตรที่ดี’ ทุกมิติได้อย่างลงตัว
ทั้งสิ่งแวดล้อม การเดินทาง วัฒนธรรม ธุรกิจ ชุมชน และทุกความหลากหลาย พร้อมขยายพื้นที่ย่าน ศก. สร้างสรรค์สู่ 5 ย่านใหม่ โดยย่านที่ร่วมจัดงานเทศกาลฯ ประกอบด้วย 1) เจริญกรุง – ตลาดน้อย 2) สามย่าน – สยาม 3) อารีย์ – ประดิพัทธ์ 4) พระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง และย่านใหม่ ได้แก่ 5) เยาวราช 6) วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู / คลองสาน 7) บางโพ 8) พร้อมพงษ์ และ 9) เกษตรฯ รวมทั้งพื้นที่อื่น ๆ ต้อนรับการเปิดเมือง ปี 66 คาดนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 100,000 คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ตลอดการจัดเทศกาลฯ
(23 มกราคม 2566) ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตัวแทนเขตผู้ร่วมจัดเทศกาลฯ ภาคีเครือข่ายผู้ขับเคลื่อน ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคณะผู้บริหาร CEA ร่วมแถลงข่าว “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 น. – 22.00 น. เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมครั้งนี้จัดภายใต้ธีมหลัก “urban‘NICE’zation หรือ เมือง – มิตร – ดี” ที่มีโจทย์หลักการออกแบบสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ฟื้นเมืองกรุงเทพฯให้ ‘น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว’ อีกครั้ง เน้นการสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมโดยมี ‘คน’ เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่สามารถพัฒนาบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง รับมือกับความท้าทายใหม่ได้ตลอดเวลา โดยพื้นที่เทศกาลจะอยู่ใน 9 ย่านหลัก ได้แก่
1) ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย 2) เยาวราช 3) สามย่าน – สยาม 4) อารีย์ – ประดิพัทธ์ 5) พระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง 6) วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู / คลองสาน 7) บางโพ 8) พร้อมพงษ์ 9) เกษตรฯ
ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า เทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2566 จะเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดระบบนิเวศเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งสร้างโอกาสและรายได้ทางธุรกิจ ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่าย รวมทั้งกระตุ้นย่านและผลักดันเมืองสร้างสรรค์กรุงเทพฯ โดยได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
นำเสนอโจทย์หลักของการออกแบบและความสร้างสรรค์ ที่จะช่วย ‘ทำเมืองให้เป็นมิตรที่ดี’ ยิ่งขึ้น ผ่าน 6 มิติ ได้แก่ เป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรที่ดีต่อคนเดินทาง เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม เป็นมิตรที่ดีต่อธุรกิจ เป็นมิตรที่ดีต่อชุมชน และ เป็นมิตรที่ดีต่อทุกความหลากหลาย ในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 9 ย่าน ผ่านกิจกรรมกว่า 530 กิจกรรมใน 4 รูปแบบหลัก ได้แก่
Showcase & Exhibition แสดงผลงานจากนักสร้างสรรค์ นำเสนอแนวคิดเพื่อการแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิต 2.Talk & Workshop กิจกรรมบรรยาย และเวิร์กช้อป เพื่อให้ความรู้และแนวคิดใหม่จากนักสร้างสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ 3. Creative Market & Promotion เปิดตลาดนัดสร้างสรรค์ 6 ตลาดทั่วกรุงเทพฯ กว่า 80 แบรนด์ดีไซน์ และ 4.Event & Program กิจกรรมสร้างบรรยากาศ และความเคลื่อนไหวกับเมืองในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง ตลอดจนการจัดเทคนิคแสงสี บนสถาปัตยกรรม รวมถึง
- การเปิดบ้านของคนในย่าน (Open House) คาดว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้ จะช่วยปลุกบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์ สร้าง แรงบันดาลใจ กระตุ้นความคิดของคนเมือง พัฒนากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน
“การพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขณะนี้หลายแห่ง สามารถเป็นย่านที่มีการเจริญเติบโตสูงมาก มีธุรกิจเกิดขึ้นตลอดเวลาแม้แต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็มีธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ อาทิ ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย ซึ่งการจัดเทศกาลตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เกิดจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าชมงานกว่า 1.75 ล้านคน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระหว่างการจัดงานมากกว่า 1,368 ล้านบาท ครั้งนี้ มีย่านเข้าร่วมเพิ่มขึ้นจากเดิม เคยจัด 5 ย่าน เป็น 9 ย่าน เชื่อว่าปีนี้ จะเป็นอีกปี ที่ประสบความสำเร็จ ช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสร้างต้นแบบการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ ต่อไป” นายชาคริต กล่าว
ด้าน นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากนโยบายสร้างสรรค์ดีของกรุงเทพมหานคร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจัดงาน 12 เทศกาลตลอดทั้งปี เพื่อดึงศักยภาพของย่านต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯนั้น “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566” ที่จะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ จะอยู่ภายใต้เดือนแห่งการออกแบบ “ออกแบบดี กรุงเทพฯ ดี” ของ กทม. เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีกระบวนการตั้งแต่การศึกษา การพัฒนาต้นแบบ การทดสอบ และที่สำคัญคือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบต้นแบบเพื่อปรับปรุง และกรุงเทพฯ ก็เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยนักออกแบบ จากการได้รับคัดเลือกให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก (UNESCO Creative City Network) สาขาด้านการออกแบบ (Bangkok City of Design) เมื่อปี 2562
สำหรับย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมเทศกาลในปีนี้ ทั้ง 9 ย่าน ผู้สนใจเข้าร่วม สามารถเลือกท่องเที่ยวได้ตลอดทั้ง 9 วันของเทศกาลฯ ซึ่งแต่ละพื้นที่ย่านจะมีอัตลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดดเด่นแตกต่างกันไป ประกอบด้วย
1.ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย เป็น ‘ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้นแบบของประเทศไทย’ เพียบพร้อมด้วยศักยภาพทางวัฒนธรรม ใหม่-เก่าที่ผสมและผสานไว้ด้วยกัน คลาคล่ำไปด้วยแกลอรี่งานศิลปะและโชว์รูมดีไซน์สมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมและวิถีชุมชนเก่าแก่ไว้อย่างดีเยี่ยม อัดแน่นด้วยกิจกรรมหลากหลายกว่า 30 พื้นที่ อาทิ TCDCกรุงเทพฯ ไปรษณีย์กลางบางรัก คลองผดุงกรุงเกษม อาคารชัยพัฒนสิน River city เป็นต้น
- Re-Vendor เจริญกรุง 32 โดย CEA x Cloud-Floor x CommDe/ID CU x KU x Street Vendors CRK32 งานออกแบบเชิงทดรองของร้านค้าแผงลอย ในซอยเจริญกรุง 32 เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กับสตรีทฟู้ดริมทาง ให้เป็นมิตรกับเมืองมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อม ธุรกิจ ชุมชน และผู้คนที่หลากหลายในเมือง สถานที่
ย่านเจริญกรุง, ซอยเจริญกรุง 32 - CITY HAPPENINGS โดย 27JUNE STUDIO สัมผัสประสบการณ์การชมผลงานแบบ Interactive Public Art Installation ผ่านผลงานสร้างสรรค์ที่แทรกตัวอยู่ตามพื้นที่สาธารณะตลอดคลองผดุงกรุงเกษมและถนน
มหาพฤฒาราม ไม่ว่าจะเป็นลานโล่ง สวน กำแพง หรือแม้กระทั่งบนรถขนส่งสาธารณะ ผลงานเหล่านี้จะช่วยมอบสีสันให้เมืองและสร้างประสบการณ์ใหม่ให้คนเมืองมาใช้เวลาร่วมกัน สถานที่ ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย และ
คลองผดุงกรุงเกษม ถนนมหาพฤฒาราม
- ย่านเยาวราช ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘CITY TROOPER X ACADEMIC PROGRAM’ กิจกรรมที่ชวนพลเมืองผู้มี
ความสนใจเรื่องการพัฒนาเมืองและกลุ่มสถาบันการศึกษา 13 สถาบัน จับมือกันร่วมค้นหาความต้องการของเมืองที่ตอบโจทย์กับผู้คนและพื้นที่ เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ Bangkok City of Design ขององค์การยูเนสโก
- New bus stop design โดย Academic Program: Bangkok City Trooper ต้นแบบป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่ จากกลุ่ม MAYDAY! ออกแบบจุดจอดรถเมล์ในเขตสัมพันธวงศ์ให้ใช้งานง่ายขึ้น เหมาะสมกับพื้นที่ และตอบโจทย์การใช้งานสำหรับคนทุกวัย โดยหลังจากสิ้นสุดเทศกาลฯ ป้ายนี้ก็จะยังคงอยู่ถาวรต่อไป
- You do me I do you โดย D&O association นิทรรศการที่ท้าทายนักออกแบบให้ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน ด้วยการแลกเปลี่ยนวัสดุระหว่างสตูดิโอ เช่น เหล็กไปสู่โรงงานหวาย นักออกแบบจึงได้ทำงานกับวัสดุที่ตนเองไม่คุ้นเคย ในขณะที่นําหลักการและสไตล์การออกแบบเฉพาะตัวของพวกเขามาปรับใช้และสร้างสรรค์ผลงานใหม่ สถานที่ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์
3. ย่านสามย่าน – สยาม เป็นศูนย์รวมแหล่งการเรียนรู้ และศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ และยังเป็นเหมือนสนามทดลองของคนสร้างสรรค์จากหลากหลายวงการที่ชวนกันมาระดมไอเดียเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในพื้นที่ เช่น Art4C House of Passa Saratta เป็นต้น
- CASETiFY x BKKDW2023 โดย CASETiFY แบรนด์ไลฟ์สไตล์และอุปกรณ์เสริมเทคโนโลยีระดับโลก สร้าง
คอลเลคชั่น“เคสโทรศัพท์” ที่สะท้อนบริบทกรุงเทพฯ โดยเชิญศิลปินไทย 10 ท่าน ที่มาบอกเล่าเรื่องราวของกรุงเทพฯ จากการตีความของตัวเอง และนำเสนอเป็นงานศิลปะบนเคสที่จะทั้งช่วยปกป้องโทรศัพท์และเป็นของที่ระลึกถึงกรุงเทพฯ ให้คุณได้พกพาไปกับตัวคุณได้ทุกที่
- ย่านพระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง ย่านเมืองเก่าที่เกิดมาพร้อมกับกรุงเทพมหานคร มีความคลาสสิกเป็นวัตถุดิบชั้นเลิศ พร้อมวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมทุกความคิดสร้างสรรค์เพื่ออนุรักษ์ ต่อยอด และสร้างเรื่องราวที่จะกลายเป็นบทใหม่ของกรุงเทพฯ จัดกระจายตามจุดต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ประปาแม้นศรี ลานคนเมือง ไปรษณียาคาร บ้านนางเลิ้ง เป็นต้น
- เล่น : สร้าง : เมือง โดย PlanToys กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กในเมืองมีอิสระในการเล่น เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างที่ได้รับจากการเล่น และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนผู้ปกครอง ครู ผู้ใหญ่ในชุมชนเมือง ภายใต้บริบทของชุมชน สถานที่ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร, ลานคนเมือง
- จรจัดสรร โดย จรจัดสรร Stand for Strays ต้นแบบที่พักพิงเพื่อให้สุนัขจรจัดอยู่ในชุมชนอย่างเป็นสุข ด้วยงานออกแบสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก ซึ่งสามารถใช้เป็นที่หลบแดด หลบฝน ที่กินอาหาร ให้กับสุนัขจรจัดในตรอก
ซอกซอยต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับชุมชนเมือง สถานที่ พยัคฆ์ แกลเลอรี - SATORIAL โดย SENSE OF NANG LOENG การออกแบบพัฒนาพื้นที่ที่กำลังจะสูญหายไป ให้กลับมาคึกคัก
อีกครั้งในย่านนางเลิ้ง ผ่านออกแบบวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างพื้นที่และประสบการณ์ใหม่ผ่านท่วงท่าและเสียงดนตรี พร้อม Projection Mapping ท่ามกลางบรรยากาศชุมชนดั้งเดิมซึ่งเป็นแหล่งพำนักของศิลปินนักดนตรีไทยและนางรำ สถานที่ The Umber Housepresso & More
- ย่านอารีย์ – ประดิพัทธ์ โดยกลุ่ม AriAround ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายนักสร้างสรรค์ จัด “เปิดบ้าน เปิดย่าน เปิดเมือง” ให้ชมสตูดิโด อาคารบ้านเรือน รวมถึงร้านค้า เพื่อผลักดันให้เป็นย่านฮิบแห่งใหม่ กลายเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่ ที่พร้อมใจกันทําให้ย่านน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เช่น โครงการ 33 space สวนซอยประดิพัทธ์ 17 สวนกรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
- Six-Degrees of Ari โดย เพื่อนบ้านอารีย์ การจัดแสดงศิลปะเสียงตามจุดต่าง ๆ ในย่านอารีย์ ผู้ชมจะสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของย่าน ผ่านการพูดคุยกันของตัวละครที่เป็นผู้อาศัยในย่านนั้น โดยการสแกน QR Code ตามจุดที่น่าสนใจต่างๆ ในย่านอารีย์
- สวนสาธารณะสร้างสรรค์ โดย AriAround กิจกรรมสร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง ในการขยายมุมมองความสัมพันธ์ของผู้คนกับพื้นที่สีเขียว สถานที่ สวนสาธารณะ กรมประชาสัมพันธ์
- ย่านพร้อมพงษ์ นำเสนอจุดโดดเด่นของย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง ซอยสุขุมวิท 26 โดยกลุ่ม 49 & FRIENDS การรวมตัวของกลุ่มนักสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนให้ย่านนี้เติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นมิตรต่อการอยู่อาศัย และกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเช็กอินที่มีเรื่องราวน่าค้นหาที่สร้างประสบการณ์ใหม่ที่มอบความปลอดภัยให้กับผู้สัญจรในยามค่ำคืน และกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ
- 49 & FRIENDS: LUMINOUS 26 โดย A49 / A49HD ในซอยสุขุมวิท 26 ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ แต่ในยามค่ำคืนกลับบดบังระบบไฟส่องสว่าง นักออกแบบได้นำเสนอสร้างระบบไฟฟ้าแสงสว่างใหม่ที่สร้างความสว่าง เพิ่มความปลอดภัยของคนเดินถนนและรถยนต์ในตอนกลางคืน
- ย่านบางโพ สานต่อตำนานถนนสายไม้แห่งสุดท้ายในกรุงเทพฯ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘ถนนสายไม้บางโพ ตํานานที่มีชีวิต’ จัดให้เป็นพื้นที่วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต รวมทั้งส่งเสริมผู้ผลิตไม้ในย่านเก่าแก่ให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการ
สร้างมูลค่าเพิ่ม ทําให้คนในพื้นที่ภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และสินทรัพย์ เพื่อให้บางโพเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมจัดมหกรรมลดราคาครั้งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 15 ปี รวมทุกร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานเฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลัก สินค้า
ไม้แปรรูป รวมถึงของตกแต่งประเภทต่าง ๆ โดยมีส่วนลดสูงสุดกว่า 50%
- The Life of Wood โดย Bangpho Wood Street พาวิลเลี่ยนโคมจากไม้แปรรูป ภายใต้แนวคิด ‘FILL THE GAP – เติมเต็ม ต่อยอดยุคสมัย ต่อยอดอาชีพ’ มอบประสบการณ์แก่ผู้เข้าชม ให้ถนนสายไม้เป็นถนนสร้างสรรค์ที่จะกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง สถานที่ ศาลเจ้าแม่ทับทิม
● Balance in Space โดย Bangpho Wood Street การพัฒนาสวนสาธารณะขนาดเล็ก (Pocket Park) จากพื้นที่จอดรถมาทำเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยการนำวัสดุเหลือใช้ภายในย่านมาใช้งาน และช่วยสนับสนุนงานฝีมือของคนในย่านไปพร้อมกัน สถานที่ บริษัท ทวีกิจ ผลิตภัณฑ์ไม้ จำกัด
- วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู / คลองสาน กิจกรรมภายใต้แนวคิดการส่งเสริมอัตลักษณ์ของย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู สู่การพัฒนาเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม ความเชื่อ อาหาร และศิลปกรรม มานําเสนอในรูปแบบใหม่ โดย SC Asset ร่วมกับ กลุ่มยังธน สถานบันการศึกษา กลุ่มนักสร้างสรรค์ กลุ่มผู้ประกอบการ และชุมชนคนในพื้นที่ และย่านคลองสาน ที่นำสินทรัพย์ในพื้นที่มาเสนอในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยการสร้างกิมมิคให้คนมาท่องเที่ยวด้วยการนั่งเรือ จัดขึ้นโดย กลุ่ม SUP X Klong San และไอคอนสยาม ไฮไลต์ที่พบกับไอเดียสร้างสรรค์ สะท้อนบริบทของย่าน
- ถลกหนัง “THE MAKER” ซอยกรุงธนบุรี : อยู่อย่างย่านเจริญรัถ โดย SC Asset ที่เน้นผสมผสานเรื่องราวของสินค้าและงานฝีมือในย่านเจริญรัถ นำมาสู่การถ่ายทอดและการจัดวางในพื้นที่ห้องตัวอย่างของ The Reference Condominium เพื่ออ้างอิงและแสดงถึงการอยู่ร่วมกับความทรงจำ สื่อถึงความหมายของบริบทพื้นที่และย่านแห่งนี้
- ย่านเกษตร ด้วยแนวคิด ‘GREEN LIVING กรีนดีอยู่ดี’ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย สร้างต้นแบบของชุมชน และไลฟ์สไตล์ของผู้คนในการใช้ชีวิตประจําวัน และทีอยู่อาศัยที่พอเหมาะ สมดุลและยั่งยืน โดยนำกิจกรรมเกษตรแฟร์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง พร้อมทั้งการออกแบบตั้งจุดทิ้งขยะที่ตลาดอมรพันธ์ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกลุ่มร้านค้าผู้ประกอบการ ชุมชนคนในพื้นที่เข้าร่วมเทศกาลครั้งนี้พบกับไฮไลต์ที่สร้างสรรค์ อาทิ
- กิจกรรมเวิร์กช็อป ที่กำลังเป็นเทรนด์ของการดูแลสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาขยะ ที่นำแนวคิด ‘การจัดการขยะ และของเสียจากตลาดสดรถเข็นขายอาหาร’ ในตลาดอมรพันธุ์ ที่เกิดจากความร่วมมือและออกแบบร่วมกันระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ J Market เป็นผู้ดูแลพื้นที่ตลาดอมรพันธุ์ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงระบบการจัดการขยะภายในตลาดให้ดียิ่งขึ้น● การออกแบบบรรจุภัณฑ์ร้านในย่านเกษตร โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิทรรศการแสดงต้นแบบนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับร้านอาหารย่านเกษตร โดย นิสิตจากภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มาร่วมสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘เมือง – มิตร – ดี’ สำหรับทุกคนใน #BKKDW2023 ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.bangkokdesignweek.com, FB และ IG: bangkokdesignweek, Twitter: @BKKDesignWeek,
Line: @bangkokdesignweek
More Stories
SOLAR ชวนอัปเดตธุรกิจในงาน Oppday 25 พ.ย.นี้!
แพทย์รังสิต นำเสนอนวัตกรรมสำหรับผู้หญิง
EXIM BANK เชิญผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา “มิติใหม่ โอกาสทอง ฮาลาลไทย”