26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

สคบ. ชี้แจงกรณี “กลุ่มต้านแชร์ลูกโซ่ ร้อง กมธ.ฯ ไม่มีอำนาจเอาผิด “แชร์ลูกโซ่”


จากกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวผ่านสื่อว่า องค์การต่อต้านแชร์ลูกโซ่น าผู้เสียหายที่ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการร่วมลงทุนกับบริษัท ทรูเฟรนด์ 2020 จ ากัด ร้องกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ โดยระบุว่าได้มีการร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ และส านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นั้น สคบ. ขอชี้แจงในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

  1. สคบ. ได้มีการตรวจสอบประเด็นข้อพิพาทแห่งการร้องเรียนแล้ว ปรากฏว่าผู้ร้องเรียนมีลักษณะการร่วมลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนจากบริษัทฯ ไม่ใช่กรณีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการจึงไม่ถือว่าเป็นผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ สคบ.โดยลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการ ประกอบกับได้ตรวจสอบแผนการจ่ายผลตอบแทนแล้ว พบว่าบริษัทฯแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนการจ่ายผลตอบแทน โดยไม่แจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนจึงจะน าไปปฏิบัติ
    ตามมาตรา 38 วรรคสาม และมีโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรงพ.ศ. 2545 สคบ. ได้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด าเนินการเปรียบเทียบบริษัทฯและกรรมการผู้รับผิดชอบในการด าเนินงานของบริษัทฯ แล้ว อีกทั้งได้แจ้งผลการด าเนินการให้องค์การต่อต้านแชร์ลูกโซ่และผู้เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว
  2. อนึ่ง สคบ. เป็นเพียงหน่วยงานหลักในการคุ้มครองผู้บริโภค และมีหน้าที่กำกับติดตามตรวจสอบการประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มิให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบเท่านั้น แต่มิได้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หรือ “แชร์ลูกโซ่” แต่อย่างใด จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

You may have missed

Skip to content