พลังงานของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ “ไฟฟ้า” ส่วนรถยนต์สันดาปคือ “น้ำมัน” ในยามที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ก็จะส่งผลให้การเดินทางด้วยรถยนต์สันดาปมีราคาสูงขึ้น เงินที่ต้องจ่ายต่อการเติมน้ำมัน 1 ถังก็แพงขึ้นด้วย เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า การที่ค่าไฟฟ้าแพงก็ส่งผลโดยตรงค่าชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน
หลายคนที่กำลังตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้าคงอยากรู้ว่ามันคุ้มจริงหรือไหม ค่าไฟจะแพงหรือเปล่า แค่ตอนนี้คนไทยก็บ่นเรื่องค่าไฟฟ้าขึ้นราคากันแล้ว เพื่อคลายความสงสัย กรุงศรี ออโต้ เลยอยากให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ใช้รถที่อยากมีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ก่อนซื้อซื้อรถไฟฟ้ากัน
การคิดค่าไฟฟ้าตามมิเตอร์ซึ่งจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ มิเตอร์ธรรมดากับมิเตอร์ TOU ซึ่งที่อยู่อาศัยโดยส่วนใหญ่มักใช้มิเตอร์แบบธรรมดา ที่ขนาด 15(45) A ขึ้นไป ส่วนมิเตอร์ TOU หรือมิเตอร์แบบ Time of Use จะมีวิธีการคิดค่าไฟเป็นแบบช่วงเวลา (แบบปกติจะคำนวณตามปริมาณการใช้งาน) โดยจะแบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ช่วง On Peak กับ Off Peak การคำนวณค่าไฟฟ้าจะคำนวณจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ที่ กฟผ.ไม่สามารถควบคุมได้ และสามารถนำไปคำนวณในสูตร Ft โดยค่า FT นี้ จะถูกปรับปรุงทุก ๆ 4 เดือน โดยค่า Ft จะมีได้ทั้งแบบเก็บเงินเพิ่มและให้เป็นส่วนลดเข้าไปในค่าไฟพื้นฐาน
ขณะนี้ การชาร์จไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่การชาร์จที่บ้าน กับการชาร์จที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยราคาค่าชาร์จแบตเตอรี่ก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สำหรับรูปแบบการคิดค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของสถานีชาร์จ มักจะคิดค่าไฟเป็น 2 ราคา ได้แก่ราคาช่วง On Peak และ Off Peak อิงตามการคิดค่าไฟฟ้าอัตรา TOU ของการไฟฟ้านครหลวงและส่วนภูมิภาค โดยมักจะตั้งราคาช่วง On Peak ที่ 7.5 บาท/หน่วย และ Off Peak 4.5 บาท/หน่วย
เรามาเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าแบบรวมทั้งค่า FT และภาษีมูลค่าเพิ่มกันว่าเป็นเท่าไร
มิเตอร์ปกติ หน่วยที่ 1 – 150 หน่วยละ 4.4755 บาท หน่วยที่ 151 – 400 หน่วยละ 5.5170 บาท หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป หน่วยละ 5.7309 บาท |
มิเตอร์ TOU On Peak หน่วยละ 7.2038 บาท Off Peak หน่วยละ 3.8212 บาท |
สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า On Peak หน่วยละ 7.5 บาท Off Peak หน่วยละ 4.5 บาท |
ยกตัวอย่าง ชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละที่ค่าชาร์จรถต่างกันแค่ไหน
เช่น เราใช้รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นหนึ่ง ขนาดแบตเตอรี่ 100 kWh หากชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในสถานที่ที่แตกต่างกันจาก 0-100% จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าดังนี้
– มิเตอร์ปกติ (ตีเฉลี่ยเป็นหน่วยละ 5.7 บาท) ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 570 บาท
- มิเตอร์ TOU On Peak ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 720 บาท
- มิเตอร์ TOU Off Peak ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 382 บาท
- สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า On Peak ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 750 บาท
- สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Off Peak ต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 450 บาท
เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละที่ มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน หากอยากชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยราคาที่ถูกที่สุด ต้องชาร์จที่บ้าน ด้วยมิเตอร์ TOU ช่วง Off Peak แต่ถ้าเดินทางไกลยังไงแล้วก็ต้องใช้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับคนมีกำลังวางแผนซื้อรถไฟฟ้าหรือมีรถไฟฟ้าแล้ว กรุงศรี ออโต้ ขอแนะนำแอปพลิเคชัน GO by Krungsri Auto
ที่มีบริการหลากหลายตอบโจทย์ของผู้ใช้รถ ไม่ว่าจะต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อรถไฟฟ้าก็สามารถกดสมัครขอสินเชื่อยานยนต์ดิจิทัลได้ทันที รู้วงอนุมัติวงเงินพร้อมออกรถภายใน 30 นาที หรือสำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้าเมื่อกดเข้ามาที่แอปพลิเคชัน GO by Krungsri Auto ก็สามารถค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าจากผู้ให้บริการชั้นนำของประเทศ สะดวก ง่ายมาก และยังมีบริการสำหรับผู้ใช้รถอื่น ๆ อีกมากมาย สนใจโหลดใช้งานได้ที่ https://kautolink.com/ujo42Z
More Stories
นิสสัน เตรียมเปิดตัว “เซเรน่า” เติมสีสันในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2024
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดตัวทัพยนตรกรรมระดับ Top-End Luxury
เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส ประเดิมจัด Global Media Drive พลังงานสะอาด เปิดประสบการณ์ New Continental GT ด้วยเชื้อเพลิง eFuels ครั้งแรกของโลก