26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

แรงงานไทย รู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลงในปี 2566 รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี และการยอมรับในองค์กร

ผลการศึกษาวิจัยใหม่ของ Qualtrics เผยถึงแนวโน้มของการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน ในประเทศไทย ปี 2567

ในขณะที่พนักงานยังคงประสบกับการพัฒนารูปแบบการทำงานแบบผสมผสานท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ รายงานแนวโน้มการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน ประจำปี 2567 ของ Qualtrics ได้เผยให้เห็นว่าตัวชี้วัดการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในประเทศไทย ได้ลดลงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

 

โดยอ้างอิงจากคำตอบของพนักงานเกือบ 37,000 คนทั่วโลก รวมถึงคำตอบมากกว่า 1,000 คนจากประเทศไทย พบว่าตัวชี้วัดด้านการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในลำดับต้น ๆ ทั้งหมดได้ลดลง นับตั้งแต่จุดสูงสุดในปี 2566 เช่น การมีส่วนร่วม, สิ่งที่บริษัททำได้ดีเกินความคาดหวังของพนักงาน, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อ, การยอมรับในองค์กร รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

– การมีส่วนร่วม ปี 2567 สัดส่วน 76% (ทั่วโลก 68%), ปี 2566 สัดส่วน 82%, ปี 2565 สัดส่วน 77% และปี 2564 สัดส่วน 78%

– สิ่งที่บริษัททำได้ดีเกินความคาดหวังของพนักงาน ปี 2567 สัดส่วน 47% (ทั่วโลก 38%), ปี 2566 สัดส่วน 58%, ปี 2565 สัดส่วน 47% และปี 2564 สัดส่วน 33%

– ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป ปี 2567 สัดส่วน 76% (ทั่วโลก 65%), ปี 2566 สัดส่วน 82%, ปี 2565 สัดส่วน 76% และปี 2564 สัดส่วน 82%

– การยอมรับในองค์กร ปี 2567 สัดส่วน 82% (ทั่วโลก 73%), ปี 2566 สัดส่วน 87%, ปี 2565 สัดส่วน 82% และปี 2564 สัดส่วน 84%

– ความเป็นอยู่ที่ดี ปี 2567 สัดส่วน 75% (ทั่วโลก 72%), ปี 2566 สัดส่วน 84%, ปี 2565 สัดส่วน 80% และปี 2564 สัดส่วน 80%

 

แนวโน้มของตัวบ่งชี้การสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานนี้ สะท้อนให้เห็นว่าทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคะแนนลดลงในประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ และหยุดชะงักในสิงคโปร์ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องกลับมามุ่งเน้นกับการยึดคนเป็นศูนย์กลางอีกครั้ง

ดร. เซซิเลีย เฮอร์เบิร์ต ประธาน XM Catalyst จากสถาบัน Qualtrics XM กล่าวว่า ในขณะที่เศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพและการพัฒนา การสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน จึงเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญที่สุดในการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนระหว่างการมีส่วนร่วมของพนักงานและผลการดำเนินงานขององค์กร ตั้งแต่นวัตกรรมและความสามารถในการทำกำไร ไปจนถึงการบริการลูกค้าที่ดีขึ้นและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของพนักงาน ซึ่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นศูนย์กลาง และสามารถทำให้ทีมของตนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นองค์กรที่โดดเด่นในปีต่อๆ ไป

แนวโน้มการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในประเทศไทย ปี 2567

นอกเหนือจากการเน้นย้ำถึงสถานะของการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานในประเทศไทย ปี 2567 แล้วทีมผู้เชี่ยวชาญของ Qualtrics ยังได้วิเคราะห์สิ่งที่ค้นพบในการศึกษานี้ โดยเผยแนวโน้มที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ดังนี้

• พนักงานชอบการเข้าออฟฟิศบ้างเป็นครั้งคราว มากกว่าทำงานที่บ้านตลอดเวลา แต่ไม่ใช่การเข้าออฟฟิศทั้ง 5 วัน

• พนักงานอยากให้ AI เข้ามาช่วยเหลือพวกเขามากกว่าประเมินพวกเขา

• พนักงานระดับแนวหน้าไม่มีความสุข ไม่ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจน้อยที่สุด

• ช่วงเริ่มงานใหม่ที่ควรจะรู้สึกมีความสุขและตื่นเต้นได้หายไป

• พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนและพูดคุยเรื่องการทำงานผ่านทางอีเมลได้อย่างสบายใจ แต่มีความลังเลที่จะโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย

พนักงานชอบการเข้าออฟฟิศเป็นครั้งคราว มากกว่าทำงานที่บ้านตลอดเวลา แต่ไม่ใช่การเข้าออฟฟิศทั้ง 5 วัน

ผลการวิจัยของ Qualtrics เกี่ยวกับจำนวนวันที่พนักงานควรทำงานในออฟฟิศ ได้แสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดที่สำคัญของการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้พนักงานเชิงบวกนั้นสูงที่สุดสำหรับพนักงานที่มีตารางการทำงานแบบผสมผสาน โดยมีระดับการมีส่วนร่วมและความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานต่อมีระดับสูงสุด เช่นเดียวกับความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีและการยอมรับในองค์กร เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาในออฟฟิศ หรือไม่ได้เข้าทำงานในออฟฟิศเลย

– ไม่ได้เข้าทำงานในออฟฟิศเลย พบว่า การมีส่วนร่วม มีสัดส่วน 74%, ประสบการณ์และความคาดหวัง สัดส่วน 47%, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป สัดส่วน 63%, การยอมรับในองค์กร สัดส่วน 79% และความเป็นอยู่ที่ดี สัดส่วน 71%

– เข้าทำงานในออฟฟิศ 2-4 วัน (เฉลี่ย) การมีส่วนร่วม สัดส่วนเฉลี่ย 86%, ประสบการณ์และความคาดหวัง สัดส่วน 55, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป สัดส่วน 79%, การมีส่วนร่วม สัดส่วน 87% และคุณภาพชีวิตที่ดี สัดส่วน 83%

– เข้าทำงานในออฟฟิศ 5 วัน การมีส่วนร่วม สัดส่วน 69%, ประสบการณ์และความคาดหวัง สัดส่วน 41%, ความตั้งใจที่จะอยู่ทำงาน 3 ปีขึ้นไป สัดส่วน 75%, การมีส่วนร่วมสัดส่วน 78% และความเป็นอยู่ที่ดี สัดส่วน 71% พนักงานอยากให้ AI เข้ามาช่วยเหลือพวกเขามากกว่าประเมินพวกเขา

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแรงงานจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งที่เปิดรับ AI ในที่ทำงาน โดย 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขายินดีให้ AI เข้ามาช่วยในการทำงาน (เทียบกับทั่วโลก 42%)

โดยพนักงานจะรู้สึกสบายใจมากขึ้น เมื่อพวกเขารู้สึกว่าสามารถควบคุม AI ได้ เช่น การเขียนงานโดย AI มีจำนวน 74% ของพนักงานจะใช้ AI ในเรื่องนี้, ในฐานะผู้ช่วยส่วนตัวของพนักงาน 74% และการติดต่อฝ่ายสนับสนุนในหน้าที่ต่างๆ 71% – มากกว่าในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การศึกษา 58% หรือการตัดสินใจจ้างงาน 44% โดยการเปรียบเทียบระหว่าง ความพอใจในการใช้ AI กับความไม่พอใจ มีสัดส่วนดังนี้

– น่าจะมี AI ช่วยงานเขียน พอใจ 74%, ไม่พอใจ 8%

– น่าจะมี AI เป็นผู้ช่วยส่วนตัว พอใจ 74%, ไม่พอใจ 8%

– จะขอการสนับสนุนจากบอท AI เมื่อติดต่อกับฝ่ายสนับสนุนภายใน พอใจ 71%, ไม่พอใจ 9%

– อยากจะได้รับการฝึกสอน หรือคำแนะนำเกี่ยวกับบอท AI เพื่อการเติบโตส่วนบุคคล พอใจ 63%, ไม่พอใจ 11%

– ต้องการการศึกษาอย่างเป็นทางการที่สอนโดยบอท AI พอใจ 58%, ไม่พอใจ 15%

– น่าจะได้รับการประเมินประสิทธิภาพของบอท AI พอใจ 62%, ไม่พอใจ 15%

– อยากจะถูกสัมภาษณ์สำหรับงานใหม่ หรือเลื่อนตำแหน่งโดยบอท AI พอใจ 44%, ไม่พอใจ 29%

พนักงานระดับแนวหน้าไม่มีความสุข ไม่ได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจน้อยที่สุด

พนักงานระดับแนวหน้า เช่น พนักงานแคชเชียร์ พนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร และพนักงานค้าปลีก มีความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ และมักเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด แต่เมื่อเทียบกับพนักงานทั้งหมดแล้ว ขวัญและกำลังใจของพนักงานเหล่านี้ยังอยู่ในระดับต่ำที่สุด พวกเขาไม่รู้สึกว่าความต้องการในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการขั้นพื้นฐานได้รับการตอบสนอง ขาดการสนับสนุนในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้สึกว่าไม่สามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินการต่างๆ ได้

เปรียบเทียบระหว่างพนักงานระดับแนวหน้ากับพนักงานไม่ใช่ระดับแนวหน้า ในเรื่องความสุขกับเงินเดือนและสวัสดิการ มีสัดส่วน 67% : 77%, ความรู้สึกพร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงาน มีสัดส่วน 78% : 82%, ความรู้สึกท้าทายต่อการทำงานแบบเดิมๆ มีสัดส่วน 70% : 79% และไว้วางใจผู้นำ มีสัดส่วน 73% : 82%

 

ช่วงเริ่มงานใหม่ที่ควรจะรู้สึกมีความสุขและตื่นเต้นได้หายไปในอดีต ปีแรกของการทำงานพวกเขาจะรู้สึกมีส่วนร่วมอย่างมาก แต่ในปัจจุบัน พนักงานใหม่มีส่วนร่วมและความตั้งใจที่จะอยู่กับบริษัท รวมถึงการยอมรับน้อยลง เมื่อเทียบกับพนักงานเก่า

 

จากข้อมูลเผยให้เห็นความสำคัญของช่วงหลายเดือนแรกของงานใหม่ต่อการสร้างพนักงานที่มีความมุ่งมั่นและภักดีแต่มีผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลเพียง 41% เท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการรับสมัครพนักงานใหม่ เพื่อบูรณาการพวกเขาให้เข้ากับองค์กรโดยสมบูรณ์ แต่เนื่องจากพนักงานใหม่จำนวนมากเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในการสำรวจการมีส่วนร่วมประจำปี องค์กรต่างๆ อาจขาดข้อมูลที่สำคัญสำหรับการรักษาพนักงานใหม่ล่าสุดไว้ โดยผลการศึกษาพบว่ามีสัดส่วน ดังนี้

– พนักงานใหม่ (อายุงาน < 6 เดือน) การมีส่วนร่วม 65%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 33%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 43%, ทำงานร่วมกัน 62%, ความเป็นอยู่ที่ดี 67%

– อายุงาน 6 เดือน – 1 ปี การมีส่วนร่วม 60%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 40%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 40%, ทำงานร่วมกัน 76%, ความเป็นอยู่ที่ดี 60%

– อายุงาน 1-2 ปี การมีส่วนร่วม 65%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 47%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 58%, ทำงานร่วมกัน 79%, ความเป็นอยู่ที่ดี 70%

– อายุงาน 2-3 ปี การมีส่วนร่วม 75%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 39%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 71%, ทำงานร่วมกัน 80%, ความเป็นอยู่ที่ดี 74%

– อายุงาน 3-5 ปี การมีส่วนร่วม 77%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 50%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 85%, ทำงานร่วมกัน 82%, ความเป็นอยู่ที่ดี 77%

– อายุงาน 5 ปีขึ้นไป การมีส่วนร่วม 82%, ประสบการณ์กับความคาดหวัง 50%, ความตั้งใจที่จะอยู่ 85%, ทำงานร่วมกัน 87%, ความเป็นอยู่ที่ดี 79%

 

พนักงานสามารถแลกเปลี่ยนและพูดคุยเรื่องการทำงานผ่านทางอีเมลได้อย่างสบายใจ

 

ปัจจุบันพนักงานรู้สึกสบายใจที่นายจ้างตั้งใจรับฟังกระบวนการทำงานผ่านทางอีเมล เช่น บันทึกการสัมภาษณ์ สำเนาการประชุมเสมือนจริง และข้อความแชท เพื่อปรับปรุงการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน ซึ่งในความเป็นจริงมีพนักงาน 83% รู้สึกสบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลอีเมลเพื่อทำความเข้าใจและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่พวกเขาไม่ค่อยสบายใจที่บริษัทจะใช้การโพสต์บนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะแบบไม่เปิดเผยตัวตนหรือไม่ -พนักงานจำนวน 50% รู้สึกสบายใจกับการใช้โซเชียลมีเดีย

 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้องค์กรมีวิธีใหม่ๆ ในการค้นหาว่าพนักงานทำงานอย่างไร นอกเหนือจากแบบสำรวจการมีส่วนร่วม และต่างจากข้อเสนอแนะที่เรียกร้องโดยตรง แต่ยังคงให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญได้ ดังนี้

– สบายใจที่องค์กรที่ใช้ข้อมูลจากอีเมล พอใจ 83% : ไม่พอใจ 4%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากคำตอบแบบสำรวจ พอใจ 75% : ไม่พอใจ 6%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากระบบงานและกระบวนการต่างๆ พอใจ 80% : ไม่พอใจ 4%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากบันทึกการประชุม พอใจ 77% : ไม่พอใจ 4%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากข้อความโดยตรง พอใจ 72% : ไม่พอใจ 6%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากข้อความกลุ่ม พอใจ 64% : ไม่พอใจ 10%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่ไม่ระบุชื่อ พอใจ 58% : ไม่พอใจ 13%

– สบายใจกับองค์กรที่ใช้ข้อมูลจากโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่ไม่เปิดเผยตัวตน พอใจ 50% : ไม่พอใจ 22%

อ่านรายงานแนวโน้มประสบการณ์ของพนักงานปี 2024 ฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.qualtrics.com/au/ebooks-guides/2024-ex-trends-report/

 

Skip to content