26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

“มาร์ส เพ็ทแคร์” ผนึก 6 พันธมิตรในประเทศไทย มุ่งปลูกข้าวโพดและข้าวแบบ Climate Smart Agriculture

เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรุงเทพฯ – มาร์ส เพ็ทแคร์ ประเทศไทย ร่วมลงนามกับ 6 พันธมิตรคู่ค้าข้าวโพดและข้าว เปิดตัวกิจกรรม “Climate Actions For A Better Tomorrow” ขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) สำหรับข้าวโพดและข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์แบบยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจก นำร่องที่ จ.นครราชสีมา และลพบุรี พลิกโฉมด้วย Climate Smart Agriculture ขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนบริษัทแม่มุ่งสู่ Net Zero ปี’93
มาร์ส เพ็ทแคร์ ประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม จึงร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัทคู่ค้า 6 ราย ประกอบด้วยกลุ่มซัพพลายเออร์ผลผลิตข้าวโพด จำนวน 5 ราย และข้าวจำนวน 1 ราย ประกอบด้วย ร้านตรงพานิช บริษัท ส.วิริยะอินเตอร์เทรด จำกัด บริษัท พูลอุดม จำกัด บริษัท วชาไล จำกัด (แสงตะวัน) ห้างหุ้นส่วนจำกัดกรแก้วพืชผล และบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลไรซ์ แอนด์โปรดักซ์ จำกัด เพื่อดำเนินกิจกรรม “Climate Actions For A Better Tomorrow” โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต ผ่านโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) โดยจะเริ่มดำเนินโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟูในการปลูกข้าวโพดและข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง นำร่องและเป็นโครงการต้นแบบที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี
การลงนามดังกล่าวนับเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายบริษัท ที่วางแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% ภายในปีพ.ศ. 2573 และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูน (Net Zero) ภายในปีพ.ศ. 2593 ซึ่งโครงการนี้สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีส่วนสำคัญในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์และฟื้นฟูดินควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
“มาร์ส เพ็ทแคร์ ประเทศไทยผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้กรอบความยั่งยืน และหนึ่งในเป้าหมายความยั่งยืน คือ การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ เกษตรกรรมฟื้นฟู (regenerative agriculture) มุ่งยกระดับสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จัดเก็บคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปรับปรุงคุณภาพของลุ่มน้ำ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะเดียวกันที่ยังสามารถช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร โครงการนี้จะเสริมสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งกับเกษตรกรเพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก้าวไปสู่การเกษตรแบบเท่าทันภูมิอากาศ (climate-smart agriculture) โดยเราจะทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์และเกษตรกรเพื่อส่งเสริมวิธีการทำเกษตรที่ดียิ่งขึ้น การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน และการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตข้าวโพดและข้าวอย่างยั่งยืน” นายปิยรัฐ อมรฉัตร ผู้อำนวยการด้านการจัดซื้อ ภูมิภาคเอเชีย บริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า มีความยินดีในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทั้ง 7 หน่วยงาน “ในฐานะตัวแทนจังหวัดนครราชสีมา ยินดีที่ภาคเอกชนมีความสนใจในการทำการเกษตรกรรมฟื้นฟู และร่วมมือกันขับเคลื่อนเรื่องลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นวาระสำคัญของทุกภาคส่วน ในส่วนของภาครัฐพร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกจากกลุ่มภาคเกษตรกรรม เพราะเป็นอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความยั่งยืนในแผนงานทั่วไปของมาร์ส และพันธสัญญาเรื่องภูมิอากาศ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.mars.com/sustainability-plan/

Skip to content