31 ตุลาคม 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สัญญาณเตือนโรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ ชนิดหนึ่งที่มีการขึ้นและลงของอารมณ์อย่างรุนแรง โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย ซึ่งการแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) หรือเรียกว่า ขั้วบวก
  • อารมณ์ดี คึกคัก ครื้นเครง
  • พลังงานล้นเหลือ ทำกิจกรรมต่างๆปริมาณมาก
  • ความคิดพรั่งพรู พูดมาก
  • ไม่มีสมาธิ ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย
  • หุนหันพลันแล่น
  • ไม่หลับไม่นอน
  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  1. กลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) หรือเรียกว่า ขั้วลบ  
  • รู้สึกเศร้า ไม่มีความหวัง ไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกผิด
  • อ่อนเพลีย เสียความสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆที่เคยชอบ
  • ไม่มีสมาธิจดจ่อ
  • พฤติกรรมการกินเปลี่ยน
  • มีปัญหาการนอนหลับ
  • มีความคิดอยากตาย

ทั้งนี้โดยปกติในแต่ละวัน คนเราจะมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับหนึ่งแล้วกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ รับผิดชอบหน้าที่การงาน ครอบครัว สังคมได้ แต่คนที่มีอารมณ์ผิดปกติ คือ เกิดอารมณ์ขั้วบวกหรืออารมณ์ขั้วลบเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวแนะนำควรมาพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและรักษาอย่างเหมาะสม

อาการรุนแรงที่ควรรีบมาพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

  • มีความคิดอยากตาย
  • มีอาการทางจิต/อาการคล้ายโรคจิตเภทที่รุนแรง
  • กระสับกระส่ายมาก
  • ไม่สามารถดูแลตัวเองได้

การวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้วเริ่มจากการซักประวัติโดยละเอียดร่วมกับการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อแยกโรคจากภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคอารมณ์สองขั้ว

สำหรับการรักษาโรคอารมณ์สองขั้วรักษาได้โดยใช้ยากลุ่มควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้าและยารักษาอาการทางจิต ตามอาการร่วมกับการทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัดและการปรับการใช้ชีวิตประจำวัน กรณีมีอาการรุนแรงทางจิตหรือมีความคิดอยากตาย ควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล สอบถามและรับบริการได้ที่ โรงพยาบาล BMHH

Skip to content