26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

“กตป.” จัดเวทีเผยแพร่ผลการติดตามและประเมินผลนโยบาย กสทช. ท่ามกลางภัยสังคม มิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดหนัก

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า วันนี้ กตป. ได้จัดเวทีเผยแพร่ผลการศึกษาต่อสาธารณะ เรื่อง “นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญของกสทช. ประจำปี 2566” โดย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) และทำการวิเคราะห์ ประเมินผลนโยบายที่สำคัญของ กสทช. 4 เรื่อง ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำรายงานเพื่อนำส่งให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณาเสนอต่อไปยังรัฐสภาเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้นในแต่ละด้านการทำงานของ กสทช. ต่อไป โดยมี นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เป็นประธาน

ผศ.ดร.ชยกฤต อัศวธิตานนท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2566 เปิดเผยว่า ขณะนี้การดำเนินการดังกล่าวได้เสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว โดยวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กตป. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาต่อสาธารณะในวันนี้

ทั้งนี้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอ “ผลการศึกษาการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญ 4 เรื่องด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2566” ประกอบด้วย 1) การแก้ไขปัญหาแก๊งโทรศัพท์ (Call Center) และข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน 2) การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (OTT) 3) เงื่อนไข/มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภายหลังการรวม ธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC 4) การกำกับดูแลการโฆษณาแอบแฝงในกิจการโทรทัศน์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาแก๊งโทรศัพท์ (Call center) และข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำรายงานติดตามและประเมินผลโดยต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องมีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามแผนงานและมาตรการในการแก้ไขปัญหาแก๊งโทรศัพท์ (Call Center) และข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชนที่สำคัญ ดังนี้1. การติดตามและประเมินผลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ซึ่งแม้ว่า กสทช. และสำนักงาน กสทช. จะได้มีการออกประกาศออกมาใหม่ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล แต่สิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายดังกล่าวนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบและแพร่หลายเป็นการทั่วไป กสทช. และสำนักงาน กสทช. จึงควรต้องมีการกำกับดูแลให้ผู้รับใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามประกาศ ฯ อย่างเคร่งครัด และกำหนดให้ผู้รับอนุญาตแจ้งสิทธิโดยตรงและชัดเจนให้ผู้ใช้บริการทราบ รวมทั้งการจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ใช้บริการผ่านช่องทางการสื่อสารของผู้รับอนุญาตและช่องทางการสื่อสารของสำนักงาน กสทช.
2. การติดตามและประเมินผลการดำเนินการเรื่องการลงทะเบียนและการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ควรกำกับดูแลผู้รับใบอนุญาต เรื่องมาตรฐานกระบวนการในการลงทะเบียนและพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้บริการ และการควบคุมจำนวนการลงทะเบียนผู้ใช้บริการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และเป็นธรรม โดยเฉพาะในส่วนที่ กสทช. มีอำนาจหน้าที่ด้านการกำหนดมาตรฐานกระบวนการในการลงทะเบียนและพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้บริการ
3. การติดตามการดำเนินการในการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศไทยและในต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงประชาชนของแก๊งโทรศัพท์ (Call Center) และข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชนในประเทศไทย
4. กสทช. ควรเสนอให้รัฐบาลกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ มีคณะทำงานและศูนย์ปฏิบัติการที่ประกอบด้วยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กสทช. อัยการสูงสุด ปปง. รวมถึง เอกชนผู้ให้บริการโทรคมนาคม เนื่องจากแต่ละหน่วยงานจะมีอำนาจตามกฎหมายแตกต่างกันไป และศูนย์ปฏิบัติการร่วมควรพัฒนากลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนให้สามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังมีการจัดเสวนาเรื่อง “มาตรการแก้ไขปัญหาแก๊งโทรศัพท์ (Call Center) และข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชนอย่างยั่งยืน” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน อาทิ ดร. เอกพงษ์ หริ่มเจริญ
ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คุณนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิ ผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พล.ต.ต. อธิป พงษ์ศิวาภัย ผู้บังคับการการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย อีกด้วย
ซึ่งเชื่อมั่นว่าข้อสรุปที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการที่ผ่านมาจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ การรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายระบบโทรคมนาคมให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดแก่ผู้บริโภคอย่างสูงสุดต่อไป

Skip to content