ปัจจุบันความยั่งยืน (Sustainability) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ยูโอบี ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวให้มู่งสู่ความยั่งยืน โดยจากรายงานผลการศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียนโดยธนาคารยูโอบี (UOB’s ASEAN Consumer Sentiment Study 2023[1] – ACSS) ประจำปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดี กล่าวคือ ผู้บริโภคชาวไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น และเต็มใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับสินค้าและบริการที่ยั่งยืน ครอบคลุมตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้อุปโภค บริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดพักผ่อน
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สามารถเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยแนวทางที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม SMEs ยังคงเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อาทิ ต้นทุนสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผู้บริโภค ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ส่วนความท้าทายอื่นๆ ได้แก่ การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และการขาดความรู้ที่เพียงพอสำหรับการกำหนดแนวทางและการดำเนินการอย่างถูกต้อง[2]
เพื่อช่วย SMEs ผ่านความท้าทายเหล่านี้ ยูโอบี ฟินแล็บ และพันธมิตรในโครงการ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และ O2O Forum ได้ร่วมมือกันสนับสนุนเอสเอ็มอีกว่า 200 รายในภาคการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการ Sustainability Innovation (SIP) โดยนำเสนอนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายด้านให้แก่องค์กรธุรกิจ เช่น การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความยั่งยืน เครื่องมือดิจิทัล โอกาสในการสร้างเครือข่าย และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย Head of Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นับเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคเองต่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นเมื่อพวกเขาเดินทางท่องเที่ยว โครงการของเราจึงรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ โดยยูโอบีจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพื่อเริ่มต้นธุรกิจท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ได้จากเครื่องมือทางดิจิทัลที่ผ่านการคัดเลือกและปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการ ไปจนถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการปรับใช้เทคโนโลยีสีเขียว ไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีความชำนาญในด้านการจัดโครงสร้างโมเดลทางธุรกิจของตน”
ผลลัพธ์ที่สำคัญของโครงการ SIP:
การปรับใช้เทคโนโลยีสีเขียว (Greentech): เทคโนโลยีสีเขียวจะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจและปรับปรุงประสบของลูกค้า ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโครงการ SIP จึงสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ SMEsในการบูรณาการเทคโนโลยีสีเขียวเข้ากับการดำเนินงาน โดยสามารถเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ และค่อยๆ ปรับเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน กรณีตัวอย่างความสำเร็จของภาคธุรกิจท่องเที่ยวได้แก่ หลากหลายโรงแรมที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึงร้อยละ 30 ด้วยการใช้โซลูชันการจัดการพลังงานอัจฉริยะของ AltoTech ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีกรีนเทคที่นำเสนอภายใต้โครงการ SIP
การเข้าถึงเงินทุนที่ง่ายขึ้นสำหรับโครงการสีเขียว: รายงาน UOB Business Outlook Study (SME& Large Enterprises) ชี้ว่าองค์กรธุรกิจมีความต้องการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ดีขึ้น การเชื่อมต่อกับธุรกิจอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมและพันธมิตรในระบบนิเวศเพื่อเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม รวมถึงบริการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือองค์กรธุรกิจในการดำเนินการเกี่ยวกับความยั่งยืน และด้วยเหตุนี้ ยูโอบี ฟินแล็บ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ SMEs ที่ต้องการนำเทคโนโลยี Greentech มาปรับใช้
ด้านนายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุน SMEs ด้วยการให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ย และความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมสูงสุด 5 ล้านบาท ผ่านความร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
นางศันสนีย์ ฮวบสมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตอกย้ำความทุ่มเทในการช่วยเหลือ SMEs เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคในการดำเนินงานและความก้าวหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Greentech รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับงานวิจัยที่ก้าวล้ำ
โซลูชันทางการเงินสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: รายงาน ACSS ของยูโอบียังระบุอีกด้วยว่า ผู้บริโภคชาวไทยในทุกกลุ่มประชากรมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนายบัลลังก์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจโรงแรมที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน ทั้งในส่วนของอาคารสถานที่และการดำเนินงาน โดยธนาคารยูโอบีนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมให้แก่องค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ เช่น U-Energy, U-Solar และ U-Drive ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ในภาคการท่องเที่ยวสามารถปรับใช้เทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการ SIP มีเป้าหมายเพื่อเร่งการพลิกโฉมธุรกิจ SMEs ในภาคการท่องเที่ยวเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน การปรับใช้โซลูชัน Greentech จะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนและโซลูชันทางการเงินต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชม www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามโครงการที่จะเกิดขึ้นต่อไป
[1] ACSS เป็นรายงานผลการศึกษาระดับภูมิภาคของ UOB ที่วิเคราะห์ แนวโน้มและความรู้สึกของผู้บริโภคใน 5 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม การสำรวจครั้งนี้เป็นปีที่สี่ โดยดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 และรวบรวมคำตอบของผู้บริโภค 3,400 คนจากกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันในภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ACSS 2023 ได้ที่ https://www.uobgroup.com/asean-insights/articles/acss-2023.page
[2]ที่มา: UOB Business Outlook Study 2023 (Regional): Unpacking sentiments across ASEAN and Greater China https://www.uobgroup.com/asean-insights/articles/uob-business-outlook-study-2023-regional.page
More Stories
SME D Bank จัดประชุมใหญ่มอบนโยบายโค้งสุดท้ายพื้นที่ภาคใต้ รวมพลัง Quick Win พิชิตเป้าหมายพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนหนุนเติบโตยั่งยืน
BAM จัดโครงการ “BAM for Thai Heroes” ปีที่ 2 ตอบแทนฮีโร่ของคนไทย ลดราคาทรัพย์สูงสุดกว่า 70%
TPS ส่งซิกผลงาน Q4/67 สดใสต่อเนื่อง ตุน Backlog 1,931.50 ลบ. – ลุยประมูลงานใหญ่ มั่นใจรายได้ปี 67 เติบโตเข้าเป้าตามแผน