26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

MBA Chula พร้อมพัฒนาทักษะใหม่แห่งอนาคตสำหรับการเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจ

ในโลกยุคใหม่ที่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างมาก หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต   คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MBA Chula) พร้อมช่วยเสริมสร้างทักษะ และ ความรู้ใหม่ๆ สำหรับการเป็นผู้นำในอนาคต ผ่านหลักปรัชญาการเรียนรู้ (5C)

รศ. ดร. ณัฐพล อัสสะรัตน์ ประธานหลักสูตร MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า    ผลจากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และระบบเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) และ สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) โดยพบว่า ทักษะใหม่ ๆ สำหรับการเป็นผู้นำองค์กรธุรกิจในอนาคตมี 10 ด้าน ดังนี้

AI & Big Data – ปัญญาประดิษฐ์ และข้อมูลมหัต; Analytic Thinking – การคิดเชิงวิเคราะห์; Creative Thinking – การคิดเชิงสร้างสรรค์; Leadership and Social Influence – ความเป็นผู้นำ และอิทธิพลทางสังคม; Talent Management – การบริหารจัดการความสามารถ; Resilience, Flexibility and Agility – ความอดทน, ความยืดหยุ่น และความคล่องตัว; Curiosity and Lifelong Learning – ความช่างสงสัย และความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิต; Technology Literacy – ความรู้ในการจัดการกับเทคโนโลยี; Environmental Stewardship – การดำเนินการที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม; และ Service Orientation and Customer Service – การมีจิตมุ่งบริการ และการบริการลูกค้า

ทั้งนี้ MBA Chula ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และพร้อมที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะ ความรู้ และความสามารถต่าง ๆ ให้แก่ผู้นำในอนาคต โดยถ่ายทอดผ่านหลักปรัชญาการเรียนรู้ (5C) ที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการออกแบบเนื้อหาการเรียนการสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ของหลักสูตร ที่เสริมสร้างทักษะ/ความรู้แห่งอนาคต อันประกอบด้วย:

1 Critical Thinking: เป็นการคิดวิเคราะห์อย่างมีตรรกะและเป็นระบบ ซึ่งเกิดจากการประสานกันระหว่างความรู้เชิงทฤษฎี กับภาพธุรกิจจริง เพื่อให้ผู้บริหารสามารถคิดวิเคราะห์และการอธิบายกลไกธุรกิจในบริบทต่าง ๆ ซึ่งทักษะความรู้ในด้าน AI – Big Data และ Analytical Thinking จะมีบทบาทมาก และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ผ่านวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Data Science, Business Analytics และโมเดลการวิเคราะห์มากมายที่สอดแทรกในวิชาต่าง ๆ ของทางหลักสูตร

2 Creativity: คือ Create + Ability เป็นความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น โดยหลักสูตรมุ่งเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Experiential Learning ที่ไม่ได้แค่เรียนเนื้อหาแล้วนำไปสอบ หากแต่จะมีโครงงานให้ผู้เรียนได้นำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้จริง โดยทำวิจัยอย่างต่อเนื่องของคณาจารย์ ทำให้องค์ความรู้ที่สอนไม่ได้อยู่แค่เพียงตำราจากต่างประเทศ หากแต่เป็นองค์ความรู้  ที่ทันสมัยและประยุกต์ใช้ได้จริงในบริบทของสังคมและเศรษฐกิจทั้งใระดับประเทศและระดับสากล

3 Care: การให้ความใส่ใจต่อทั้งคู่ค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืน ถือว่ามีความสอดคล้องกับทักษะ – ความรู้ในด้านของ Environmental Stewardship, Service Orientation and Customer Service ผ่านการปลูกฝังและเรียนรู้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Share Values: CSV) ความยั่งยืน (Sustainability) และจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งวิชาดังกล่าวนี้จะมีการนำผู้เรียนลงพื้นที่ชุมชนเพื่อช่วยคิดวางแผนแก้ปัญหาให้กับธุรกิจจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทั้งจากบทเรียนและประสบการณ์จริง

4 Collaboration: ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในปรัชญาการเรียนรู้ที่ทาง MBA Chula ได้ส่งเสริมแก่ผู้เรียน โดยคุณสมบัติของผู้นำที่ดี คือ สามารถทำงานเป็นทีม และดึงศักยภาพที่โดดเด่นของสมาชิกในทีมออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการทำงาน โดยผู้เรียนจะสามารถฝึกฝนทักษะเหล่านี้ได้จากการร่วมกันทำโครงงานต่าง ๆ ในแต่ละรายวิชา

5 Communication: เป็นหนึ่งในทักษะที่ MBA Chula ให้ความสำคัญ เนื่องจากผู้บริหารที่ดีนั้น นอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องสามารถสื่อสารสิ่งที่ตนคิดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรได้ออกแบบรายวิชาที่ช่วยพัฒนาความสามารถของการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน   ทั้งในการติดต่อธุรกิจ การสื่อสารภายในคณะทำงาน และการสื่อสารเพื่อสร้างอิทธิพลต่อสังคม

นอกจากแนวคิด 5C แล้ว MBA Chula ยังมุ่งเน้นการส่งเสริม Global Mindset ผ่านการศึกษาดูงานในต่างประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรของหลักสูตรทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นสถาบันการศึกษาและองค์กรธุรกิจ  ทำให้สามารถเข้าถึงการดูงานที่ลึกซึ้งและสามารถเข้าใจบริบทของการทำธุรกิจข้ามชาติได้อย่างแท้จริง

รศ. ดร. ณัฐพล กล่าวเสริมอีกว่า เพื่อส่งเสริมการเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ล่าสุด MBA Chula จึงได้ริเริ่มโครงการ Life Long Learning เปิดโอกาสให้นิสิตเก่าของหลักสูตรสามารถกลับมาเพิ่มพูนทักษะและความรู้ใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดย MBA Chula มุ่งหวังที่จะผลิตผู้บริหารยุคใหม่ให้มีความสามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และคาดว่าหลักสูตรนี้จะเป็นแรงผลักดัน และขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Skip to content