และมอบเงินสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อพัฒนาฝ่ายผลิตหนังสืออักษรเบรลล์ ให้กับศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด
วันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายดาเนียล รอสส์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการลงทุน และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน นางสาวนริศรา ศรีสันต์ ที่ปรึกษากลยุทธ์สื่อสารองค์กร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และนายสุมิตร ศรีสันติธรรม ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นำพนักงานจิตอาสาในกลุ่มบริษัทบีทีเอส ส่งมอบปฏิทินตั้งโต๊ะเก่าจากแคมเปญ “ฮีโร่ให้” จำนวนกว่า 20,000 ฉบับ โดยเป็นปฏิทินที่พนักงานกลุ่มบริษัทบีทีเอส ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส และหน่วยงานใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอสร่วมกันบริจาค พร้อมทั้งเป็นตัวแทนกลุ่มบริษัทบีทีเอส และผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสมอบเงิน จำนวน 786,450 บาท เพื่อสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อพัฒนาฝ่ายผลิตหนังสืออักษรเบรลล์
โดยมี นางชนิดาภา เพ็ชรรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด เป็นผู้รับมอบ
นายดาเนียล กล่าวว่า กลุ่มบริษัทบีทีเอสได้นำปฏิทินตั้งโต๊ะเก่ามาบริจาคอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นสื่ออักษรเบรลล์ ส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับผู้พิการทางสายตา อีกทั้งเป็นการลดปริมาณขยะ และร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ และการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของสังคม และในปีนี้นอกจาก การนำปฏิทินมาบริจาคแล้วนั้น กลุ่มบริษัทบีทีเอสได้ร่วมทำกิจกรรมบันทึกหนังสือเสียง (อ่านนิทาน) และเข้าเล่มหนังสืออักษรเบรลล์ เรื่อง “สุขง่ายๆ แค่ปลายจมูก” เพื่อเป็นการส่งต่อความรู้ผ่านหนังสือเสียง และสร้างโอกาสในการศึกษา ส่งเสริมเพิ่มทักษะ และพัฒนาศักยภาพการศึกษาให้แก่ผู้พิการทางสายตา ทั่วประเทศ ได้เข้าถึงข้อมูลผ่านอักษรเบรลล์มากยิ่งขึ้น
นายสุมิตร กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรภาคเอกชน ในการสนับสนุน ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผลิตสื่อ และหนังสืออักษรเบรลล์ ให้กับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาชิกผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศจำนวนกว่า 180,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ผ่านเครื่องพิมพ์ระบบเพลทอักษรเบรลล์ที่นำเข้ามาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันมีอายุการใช้งานมากว่า 47 ปี ทำให้ไม่สามารถ ผลิตหนังสืออักษรเบรลล์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงต้องมีการจัดจ้างหน่วยงานภายนอกในการผลิตสื่อฯ โดยเบื้องต้นทางศูนย์ฯ ได้มีการประสานกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบตอกอักษรเบรลล์สำหรับแผ่นเพลทโลหะ โดยยังอยู่ในระหว่างการทดลองระบบ และเพื่อให้การผลิตสื่ออักษรเบรลล์ดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และลดต้นทุนการผลิต บริษัทฯ จึงให้การสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อพัฒนาฝ่ายผลิตหนังสืออักษรเบรลล์ ได้แก่ เครื่องถ่ายเอกสารสี ระบบมัลติฟังก์ชัน เพื่อพิมพ์ปกสี่สี และสแกนหนังสือเรียน, เครื่องตัดกระดาษไฟฟ้าสำหรับพิมพ์อักษรเบรลล์ในระบบโรงพิมพ์ และเครื่องทำปกแข็งกึ่งอัตโนมัติ สำหรับการเข้ารูปเล่ม เพื่อให้สามารถรองรับการผลิตสื่อหนังสืออักษรเบรลล์ กับผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ
More Stories
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
เอสซีจี เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในอาเซียน มอบทุนอีก 3 ประเทศ
คาร์กิลล์ สานต่อ ‘โครงการเกษตรอาหารกลางวัน’ สร้างความยั่งยืนทางอาหารให้เยาวชนไทย ตอกย้ำการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารโลก