ระยอง – 19 วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดระยอง หันมาปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยและรีไซเคิลได้ พร้อมวางจำหน่ายแล้ววันนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และสถาบันพลาสติก ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่รีไซเคิลได้ 100% ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ ลดปริมาณอาหารเน่าเสีย ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับศักยภาพในการพัฒนาสินค้าและบริการ ตอบสนองความต้องการและเทรนด์ด้านการตลาดยุคใหม่ หวังสร้างรายได้เพิ่ม พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อก้าวสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ที่ผ่านมา Dow ได้ให้การสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหลายแห่งในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการจัดตลาดเพื่อส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้า การอบรมให้ความรู้ด้านการทำบัญชี และการเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนในกระเช้าปีใหม่ สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Dow Asia Pacific Impact Fund รวมทั้งสิ้น 700,000 บาท และได้รับความร่วมมือจากสถาบันพลาสติกในการร่วมกันออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเพียงชนิดเดียว (Mono-material Polyethylene) ส่งผลให้รีไซเคิลได้ง่ายและสะดวกขึ้น ลดการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน เนื่องจากลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่ยังคงประสิทธิภาพด้านความแข็งแรง ความสวยงาม ความสะดวกในการขนส่ง และการใช้งานของบรรจุภัณฑ์
นายณัฐพงศ์ จิรวัฒนาวรกุล ผู้จัดการแผนกกิจการเพื่อสังคมและชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการนี้ไม่เพียงช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ของสินค้า ยกระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน สร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคต่อแบรนด์สินค้า แต่ยังสร้างความเข้าใจถึงบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม การที่ชุมชนหันมาปรับใช้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ช่วยเปลี่ยนทัศนคติว่าพลาสติกไม่ใช่ขยะแต่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า อีกทั้งยังขยายผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเป็นกระบอกเสียงสำหรับการคัดแยกและนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้เพิ่มมากขึ้นต่อไป”
นอกจากนี้ Dow ยังวางแผนจัดอบรมให้ความรู้และศึกษาดูงานแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับ ‘ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน’ และ ‘การตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ เพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือทางการตลาด ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานที่ใส่ใจผู้บริโภคยุคใหม่และเทรนด์โลก ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การยืดอายุการใช้งาน การบริโภค การตลาด และการพัฒนาการขายในรูปแบบตลาดท้องถิ่นให้มีเอกลักษณ์ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ และยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดระยองทั้ง 19 แห่ง ประกอบด้วย 1) วิสาหกิจชุมชนรวมมิตรเกษตรอินทรีย์ (ปุ๋ยไส้เดือน ดินก้ามปู น้ำหมักจุลินทรีย์) 2) บ้านเอื้ออาทรวังหว้า (ปุ๋ยไส้เดือน น้ำหมักจุลินทรีย์) 3) บ้านขนมไทยอิ่มศุข (ขนมไทย กล้วยอบ) 4) กลุ่มมะพร้าวแปลงใหญ่ (มะพร้าวแก้ว) 5) วิสาหกิจชุมชนสวนป้านุลุงไก่ เกษตรอินทรีย์ (เลมอนอบแห้ง) 6) วิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยมาบชลูด (กล้วยกวน) 7) วิสาหกิจชุมชนบ้านมาตังค์ (หมูฮ้อง ปลาต้มหวาน) 8) ร้านกาแฟ Early Sweet Tooth (กาแฟ เครื่องดื่ม) 9) ร้านน้ำพริกชุมชนจ.คู่ (น้ำพริกปลาสลิด น้ำพริกเผา น้ำพริกตาแดง) 10) กลุ่มยุวเกษตรกร รร.วัดชากหมาก (ไข่เค็มสองสหาย) 11) โรงเรียนบ้านเขาห้วยมะหาด (ไข่เค็ม ป.1) 12) ชุมชนคลองทราย (หมูแผ่น) 13) วิสาหกิจชุมชนบ้านรลิณ กรีน ลีฟวิ่ง (น้ำยาซักผ้า) 14) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านฉางไฮโดรฟาร์ม (กิมจิ) 15) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศพก.บ้านฉาง (แผ่นมันสำปะหลังแปรรูป) และ 16-19) เครือข่ายเลี้ยงชันโรง (นำผึ้งชันโรง) ได้แก่ วสช.เกษตรแปรรูปบ้านดอน วสช.กลุ่มแม่บ้านเกษตรแปรรูปภูลำไยอำเภอบ้านฉาง วสช.รวมมิตรเกษตรอินทรีย์ วสช.บ้านมาตังค์ วสช.สวนป้านุลุงไก่เกษตรอินทรีย์ และชุมชนหนองม่วง
More Stories
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
เอสซีจี เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในอาเซียน มอบทุนอีก 3 ประเทศ
คาร์กิลล์ สานต่อ ‘โครงการเกษตรอาหารกลางวัน’ สร้างความยั่งยืนทางอาหารให้เยาวชนไทย ตอกย้ำการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารโลก