นโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว รวมถึงเริ่มเห็นทิศทางของ EV ในประเทศไทยชัดเจนขึ้น finbiz by ttb จึงขอขยายความแนวทาง 30@30 เพื่อให้ SME เห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้
30@30 คืออะไร
แนวทางส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) 30@30 เป็นนโยบายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศไทย ภายในปี 2030 เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีนโยบายส่งเสริม ดังนี้
- ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ
- ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งมาตรการทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า เช่น สถานีอัดประจุและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ พัฒนากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า
EV ก้าวหน้าไว จุดหมายไม่ไกลเกินเอื้อม
จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2021 ปัจจุบันข้อมูลการลงทุนล่าสุดเมื่อปลายปี 2023 จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรม EV จำนวน 103 โครงการ เงินลงทุนรวม 77,192 ล้านบาท
- รถยนต์ EV จำนวน 18 โครงการ มูลค่า 40,004 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์ EV จำนวน 9 โครงการ มูลค่า 848 ล้านบาท
- รถบัส EV และรถบรรทุก EV จำนวน 3 โครงการ มูลค่า 2,200 ล้านบาท
- แบตเตอรี่สำหรับรถ EV และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) จำนวน 39 โครงการ มูลค่า 23,904 ล้านบาท
- ชิ้นส่วนสำคัญ จำนวน 20 โครงการ มูลค่า 6,031 ล้านบาท
- สถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 14 โครงการ มูลค่า 4,205 ล้านบาท
นอกจากนี้ นโยบายด้านภาษีในการสนับสนุนรถขนาดใหญ่ ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังจะออกมาประกาศใช้ซึ่งจะมีผลไปจนถึงสิ้นปี 2025 โดยคาดว่าจะมีรถทั้งสองประเภทที่เป็นรถ EV ในโครงการนี้แบ่งเป็นรถบัสประมาณ 6,000 คัน และรถบรรทุกประมาณ 4,000 คัน และยังมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่ที่บีโอไอและคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศพิจารณาตามเงื่อนไขอีกด้วย จากปัจจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเป้าหมาย 30@30 นั้นไม่ไกลเกินเอื้อม โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
SME เตรียมตัวขานรับแนวทาง 30@30
จากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับ SME โดยจะสร้างโอกาสให้สามารถเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานของ EV ได้ แต่อาจต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงธุรกิจเดิมเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งสิ่งที่ SME ควรทำได้แก่
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทาง 30@30 หาช่องทางโอกาสและพิจารณาจุดแข็งของธุรกิจ เพื่อปรับธุรกิจให้ตอบสนองและมีความพร้อมอยู่เสมอ
- ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เมื่อพบช่องทางแล้วจึงประเมินศักยภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางนั้นได้
- พัฒนากลยุทธ์ เพื่อเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานของ EV กำหนดเป้าหมาย แนวทาง และวิธีการดำเนินการ
- เตรียมตัวขอรับการสนับสนุน หาข้อมูลและขอการสนับสนุนหรือพัฒนาร่วมกันกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หาแหล่งเงินทุนและสถาบันทางการเงินที่จะช่วยหนุนให้การพัฒนาธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
SME มีแหล่งเงินทุน…ก้าวทันโอกาส
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด EV และการสนับสนุนการใช้งานรถ EV จากภาครัฐ ผู้ประกอบการสามารถเห็นความได้เปรียบจากการที่องค์กรเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ EV ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นซื้อรถเพิ่ม หรือเปลี่ยนรถใหม่ก็ตาม SME ย่อมไม่ต้องการใช้เงินสดในธุรกิจมาลงทุน ซึ่งปัจจุบันก็มีโซลูชันทางการเงินมารองรับ อย่างสินเชื่อรถยนต์เพื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี ที่อนุมัติเร็วภายใน 3 วัน สมัครครั้งเดียว สามารถทยอยออกรถภายใต้วงเงินที่ได้รับ ภายในระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน โดยไม่ต้องมีหลักประกันเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยพิเศษและคงที่ตลอดอายุสัญญา และยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจในด้านการบริหารจัดการการเงินสำหรับยานยนต์ในธุรกิจจาก ttb automotive solutions ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ SME ใช้บริการ
หรือ หากผู้ประกอบการมองเห็นช่องทางในการขยายธุรกิจต่อยอดเพื่อตอบรับการเติบโตของ EV ทีทีบีก็มีสินเชื่อที่สามารถมาตอบสนองแผนต่อยอดของธุรกิจ SME ได้ อย่างสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส (ttb sme smart biz) (https://www.ttbbank.com/th/sme/sme-sustainable-and-sufficient-funding/credit-with-collateral/ttb-smart-biz) สินเชื่อธุรกิจสำหรับเอสเอ็มอี แบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถใช้รีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ SME ได้ เพื่อใช้ในการบริหารงาน เสริมสภาพคล่อง หรือลงทุนต่อยอดธุรกิจ ให้วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาท ประกอบไปด้วยสินเชื่อหมุนเวียนและสินเชื่อระยะยาวในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการทางธุรกิจแต่ละประเภท สามารถตรวจสอบวงเงิน OD ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เหมาะกับ SME ที่จะพัฒนาต่อยอด สนใจผลิตภัณฑ์สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือ ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000
More Stories
PTG ส่งสัญญาณโค้งสุดท้ายธุรกิจ Oil – Non Oil สดใส รับแรงหนุนจากระบบสมาชิก Max Card -ภาคเกษตร-ท่องเที่ยว-เศรษฐกิจฟื้น
จี้รัฐเร่งแก้รถเมล์เถื่อน! ไร้ใบอนุญาต ลักลอบวิ่งให้บริการทับเอกชน
ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด ผนึก ธนาคารไทยพาณิชย์ เสริมแกร่งเอกสิทธิ์บริการทางการเงินเหนือระดับ