วู้ด แมกเคนซี เผยว่าทรัพยากรก๊าซและก๊าซธรรมชาติเหลวยังจำเป็นอย่างมาก ต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – รายงานวิจัยล่าสุดของ วู้ด แมกเคนซี (Wood Mackenzie) บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลและการวิเคราะห์เศรษฐกิจชั้นนำ คาดการณ์ว่าความต้องการของก๊าซในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นกว่า 5.7% เมื่อพิจารณาตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงปี 2578 แม้ว่าการผลิตก๊าซในประเทศและการนำเข้าก๊าซผ่านท่อส่งจะลดลงจาก 4-5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (bcf/d) ในทศวรรษที่ผ่านมา เหลือราว 2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (bcf/d) ในช่วง 2 ปีก่อนก็ตาม
คุณ กาวิน ทอมป์สัน รองประธานกรรมการ วู้ด แมกเคนซี กล่าวกับผู้เข้าร่วมการสัมมนาอุตสาหกรรมซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ LNG: Fueling Thailand’s Sustainable Growth ที่กรุงเทพฯ ว่าประเทศไทยมีอัตราการใช้ก๊าซสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และวู้ด แมกเคนซี ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเรื่องนี้ แม้ว่าภาคธุรกิจพลังงานหมุนเวียนจะกำลังเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งก็ตาม
“การใช้ก๊าซเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้านับว่าเป็นรูปแบบการใช้งานหลักและคิดเป็น 56% ของตวามต้องการทั้งหมดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศกำลังผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น แต่ก๊าซจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของโครงข่ายพลังงานไฟฟ้า ไปตลอดช่วงเวลาแห่งการการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานนี้” ทอมป์สัน กล่าว
การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเหลวเกินไป ส่งผลให้ราคาก๊าซไทยผันผวน
รายงานของวู้ด แมกเคนซี ชี้ว่าในปี 2567 จะเกิดการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของคู่สัญญาในไทยกว่า 5 ล้านตันต่อปี (mmtpa) ซึ่งหมายความว่า 50% ของการนำเข้า LNG จะต้องพึ่งพาการจัดซื้อซึ่งมีราคาผันผวนมากขึ้น
“การขาดแคลนซัพพลาย LNG ของคู่สัญญาในช่วงเวลาที่ทรัพยากรในประเทศกำลังลดลง ส่งผลให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อราคาก๊าซที่สูงขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์ไฟฟ้าดับหรือการปันส่วนก๊าซในอนาคต” ทอมป์สัน กล่าว
ความต้องการของ LNG ในประเทศไทย VS สัญญาของ LNG
โครงสร้างพื้นฐานใหม่คือสิ่งจำเป็น
ทอมป์สันกล่าวเพิ่มเติมว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของก๊าซขึ้นใหม่ จะช่วยรับมือกับความวิตกกังวลบางประการเกี่ยวกับการขาดแคลนก๊าซได้
ปัจจุบัน กำลังมีการนำเสนอการพัฒนาท่าขนส่ง LNG แห่งใหม่ที่จะเพิ่มขีดความสามารถการแปรสภาพก๊าซธรรมชาติให้ถึง 8 ล้านตันต่อปี (mmtpa) ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีขีดความสามารถการแปรสภาพก๊าซรวมเป็น 27 ล้านตันต่อปี (mmtpa) อีกทั้งยังมีโครงการสร้างท่อส่งก๊าซระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
“การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันให้มากขึ้น จะสามารถช่วยเร่งการเติบโตของตลาดก๊าซได้เช่นกัน” ทอมป์สัน กล่าว “ส่วนท่อส่งก๊าซข้ามประเทศจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย สามารถเพิ่มโอกาสด้านความร่วมมือได้มากขึ้นด้วย”
ทอมป์สัน สรุปว่า ด้วยกำลังการผลิต LNG ใหม่มากกว่า 200 ล้านตันต่อปีที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโครงการทั่วโลก เราควรมีซัพพลายที่เพียงพอเพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถทำสัญญาต่อเนื่องและการันตีการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานโดยประสบความสำเร็จได้
“ตลาด LNG ทั่วโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงและด้วยทรัพยากรที่กำลังจะมีมากขึ้น ประเทศไทยจึงควรสร้างเงื่อนไขที่น่าดึงดูดใจมากขึ้นได้ในการทำสัญญาใหม่ครั้งต่อ ๆ ไป” ทอมป์สัน กล่าว “ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่ประเทศไทยจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากตลาดพลังงานใหม่ได้”
เนื่องจากประเทศไทยมุ่งสร้างความเชื่อมั่นถึงแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กลยุทธ์การจัดซื้อระยะยาวที่มีหลักประกันเสถียรภาพด้านราคาและความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้
การวิเคราะห์ของวู้ด แมกเคนซี ยังชี้ว่าไทยควรแสวงหาความร่วมมือกับผู้ให้บริการโซลูชันที่สามารถตอบสนองหลักเกณฑ์เหล่านี้ได้ โดยผู้ให้บริการรายหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ ปิโตรนาส (PETRONAS) ซึ่งเป็นผู้นำด้านพลังงานระดับโลกที่มีชื่อเสียงด้านความน่าเชื่อถือและการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก
ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิต LNG แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก ปิโตรนาสสามารถผลิต LNG ได้มากกว่า 36 ล้านตันต่อปีทั้งจากโรงงานในบินตูลู ออสเตรเลีย อียิปต์ และในเร็วๆ นี้ ที่แคนาดา เครือข่ายขนาดใหญ่นี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าปิโตรนาสจะสามารถจัดหา LNG ให้กับประเทศไทยได้
ปิโตรนาสก่อตั้งขึ้นในช่วงแรกเพื่อเป็นซัพพลายเออร์ด้านพลังงานสำหรับตลาดมาเลเซีย และต่อมาได้ขยายธุรกิจการไปยังประเทศหลักอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี การขยายธุรกิจได้เช่นนี้ตอกย้ำถึงความเข้าใจต่อการเคลื่อนไหวในตลาดเอเชียอย่างถ่องแท้ของปิโตรนาส รวมถึงความสามารถของบริษัทในการนำเสนอโซลูชันการจัดส่งสินค้าที่เหมาะสม รวมถึงเงื่อนไขทางการค้าและสัญญาที่ยืดหยุ่น
ปิโตรนาสดำเนินการผลิต LNG ด้วยความรับผิดชอบและมีโครงการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้า ระบบปลอดการเผาและการระบายควันในการปฏิบัติงานประจำวัน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการดักและกักเก็บคาร์บอนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การสร้างอนาคตสีเขียวของประเทศไทย
นอกจากนี้ ปิโตรนาสยังมีความรู้ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความต้องการด้านพลังงานของไทย ซึ่งเกิดจากการร่วมมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มายาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ ความร่วมมือครั้งนี้ยังได้รับการส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญจากความร่วมมือในภาคธุรกิจต่างๆ ของห่วงโซ่มูลค่าพลังงาน โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ LNG ความร่วมมือนี้ยังประสบความสำเร็จอย่างสูง ซึ่งเห็นได้จากการขนส่งสินค้า LNG มายังท่าอุตสาหกรรมมาบตาพุดของไทยมากกว่า 100 รายการ นับตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน
More Stories
SSP ติดปีก! รุกขยายพอร์ตโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ
ราช กรุ๊ป – เอไอเอฟ กรุ๊ป – โรนิตรอน จับมือศึกษาและพัฒนาโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจน – กรีนแอมโมเนีย จากพลังงานสะอาดใน สปป.ลาว
“พลังงาน”ชูต้นแบบสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ