จัดฟอรัมใหญ่ ระดับโลก AAD Global Forum: Design for a Better World พบกัน 24 ส.ค.’67 ณ อาคารหอประชุม ศ.ประสม รังสิโรจน สจล.
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ (AAD) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เตรียมพร้อมจัดฟอรัมใหญ่ ระดับโลก AAD Global Forum: Design for a Better World กิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างแนวความคิดที่มุ่งเน้นจัดการกับความท้าทายที่สำคัญผ่านมุมมองแห่งความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ โดยมีนักออกแบบที่มีชื่อเสียง นักคิดที่ทรงอิทธิพลระดับโลก คนสำคัญเข้าร่วมงาน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ณ อาคารหอประชุม ศ.ประสม รังสิโรจน สจล. คาดว่าจะมีนักออกแบบชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ นักศึกษาคณะสถาปัตย์ฯ เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ทิศทางนโยบายการบริหารของ สจล. มุ่งสู่การเป็นสถาบันผู้นำด้านนวัตกรรมระดับโลก The World Master of Innovation สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SGD) เริ่มจากระดับบุคลากร หน่วยงานภายใน ให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบ โดยเฉพาะแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมจากธรรมชาติ (Green Architecture) ที่มุ่งเน้นมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางความยั่งยืนหัวใจสำคัญของการพัฒนาในระดับโลก
ทั้งการนำหลักธรรมชาติมาปรับใช้ ผ่านการเลือกวัสดุและวิธีการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย ในการนี้ การจัดฟอรัมใหญ่ AAD Global นับเป็นครั้งแรก และครั้งสำคัญ ที่สจล. จัดขึ้น โดยมีเครือข่ายนักออกแบบผู้ทรงอิทธิพลระดับโลกเข้าร่วมงาน เพื่อร่วมแชร์ประสบการณ์ สร้างโลกที่ดีกว่าด้วยการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และส่งเสริมการพัฒนาที่ความยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สจล. กล่าวว่า สจล.จะมีการจัดงานฟอรัมใหญ่ AAD Global Forum: Design for a Better World ในงานมีเครือข่ายผู้นำระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ นักออกแบบที่มีชื่อเสียง นักคิดที่ทรงอิทธิพล วิทยากรคนสำคัญ อาทิ Shigeru Ban นวัตกรผู้พัฒนาการใช้วัสดุกระดาษรีไซเคิลในงานสถาปัตยกรรมสำหรับการบรรเทาภัยพิบัติและส่งเสริมความยั่งยืน, Don Norman นวัตกรผู้บุกเบิกพัฒนาการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง Human Centered Design และ Jeffrey Shumaker นวัตกรผู้ริเริ่มออกแบบเมืองโดยให้ความสำคัญกับการวางผังเมืองที่คำนึงถึงผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ร่วมด้วย ม.ล.วรุตม์ วรวรรณสถาปนิกแห่งวิน วรวรรณ (VVA) เชี่ยวชาญในโครงการที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์และความรับผิดชอบต่อสังคม การใช้วัสดุในท้องถิ่น ได้รับการยอมรับในระดับสากล, คุณสนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ ศิลปินที่สนใจพื้นที่ประติมากรรม และผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Sanitas มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร Executive Director บริษัท สถาปนิก 49 จํากัด ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมอาคาร Building Environment Design เน้นการวิจัยพัฒนา และสร้างนวัตกรรมการออกแบบอาคารเพื่อความยั่งยืน และ Pre-Record โดย คุณนิธิ สถาปิตานนท์ สถาปนิกร่วมสมัยยุคบุกเบิกระดับตำนานของประเทศไทย หนึ่งในกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของประเทศไทยมาเกือบครึ่งศตวรรษ
งานฟอรัมใหญ่ครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้เชิงลึก จากหัวข้ออภิปรายในงาน อาทิ การออกแบบกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต, การออกแบบกับการรักษาโลก, การออกแบบเป็นกลไกสู่โลกที่ดีกว่า ซึ่งแต่ละช่วงของการอภิปรายมุ่งเน้นหลักปฏิบัติด้านการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางของความยั่งยืน หัวใจสำคัญของการพัฒนาระดับโลก โดยการออกแบบเป็นกลไกสำคัญ แสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของผลกระทบทางวิชาชีพ การทำงานด้านการออกแบบได้อย่างบูรณาการ เพื่อให้ได้งานที่ตอบโจทย์และสร้างสรรค์ที่เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนได้
สำหรับการจัดงานฟอรัม AAD Global Forum: Design for a Better World กิจกรรมที่ให้ภาพรวมศิลปะ และการออกแบบ (AAD) ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยวิทยากรผู้ทรงอิทธิพลจะจัดขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ณ อาคารหอประชุม ศ.ประสม รังสิโรจน สจล.
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานโปรดเข้าไปลงทะเบียนที่ : https://formlanding.eventpassinsight.co/aad หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อโดยตรงหรือผ่านทางหน้าฟอรั่ม : AAD Global Forum Facebook https://www.facebook.com/AADGLOBALFORUM
More Stories
SCB WEALTH ปิดรอบพิเศษละครเวที “ฟ้าจรดทราย เดอะมิวสิคัล”
เคนยากุ จัดประชุมแผนกลยุทธ์ประจำปี 2568
เปิดแล้ว! ครั้งแรกกับ โดรนเทค เอเชีย 2024 งานที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานพาหนะไร้คนขับของอาเซียน กว่า 100 แบรนด์ชั้นนำ และคนในวงการร่วมเปิดมุมมองใหม่ผ่านการเสวนา ประชุม 15 หัวข้อน่าสนใจ และการสาธิตนวัตกรรมที่หลากหลาย