26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

Tei ร่วมเสวนาการขับเคลื่อน การดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

หัวข้อ “ก้าวสู่ Net zero ประเทศไทยไร้มลพิษพลาสติก

มลพิษจากพลาสติก เป็นปัญหาสำคัญของโลกของภูมิภาค และของประเทศไทย จากข้อมูลสถิติพบว่าทั่วโลกผลิตขยะพลาสติกปีละ 8-10 ล้านตัน และคาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีขยะพลาสติกสูงขึ้นกว่าปีละ 30 ล้านตัน จากประเด็นดังกล่าวองค์การสหประชาชาติจึงได้จัดทำกฎระเบียบระหว่างประเทศด้านการควบคุมมลพิษจากพลาสติก เป็นข้อตกลงมีผลผูกผันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยการควบคุมและยุติมลพิษจากขยะพลาสติกขององค์การสหประชาชาติ และประเทศไทยได้ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีปัญหาขยะในทะเล โดยมีอัตราการสร้างขยะพลาสติกประมาณ 2.5 ล้านตันต่อปี มีสัดส่วนระบบจัดการได้อย่างถูกต้องและสามารถนำมาสู่การรีไซเคิลได้เพียง 25% ที่เหลืออีก 75 % ถูกนำไปฝังกลบ  เผา หรือกองทิ้งเล็ดลอดออกสู่คลอง แม่น้ำ และปลายทางที่ทะเล รัฐบาลไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก จึงได้มีการจัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของประเทศ พ.ศ. 2561-2573 เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ โดยมีเป้าหมาย การลดและเลิกใช้พลาสติกเป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ได้ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 โดยเป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายของประเทศไทย สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทยและมูลนิธิเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนแห่งเอเชียแปซิฟิก จึงได้จัดการประชุมเสวนาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน หัวข้อ “ก้าวสู่ Net zero ประเทศไทยไร้มลพิษพลาสติก” ขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการจัดการปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนในเชิงธุรกิจ เพิ่มพูนองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนของเครือข่าย สนับสนุนความสำเร็จการบรรลุเป้าหมายของประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เกิดการจัดการสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ในงานเสวนาได้รับเกียรติ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในฐานะนายกสมาคมและประธานเครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) ร่วมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Net Zero มลพิษพลาสติก วาระไทยและวาระโลก” โดยเน้นย้ำว่า “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โลกที่ยั่งยืน คือความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยประเทศไทยทำได้ดีในเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน อันดับที่ 3 ของเอเชีย อันดับที่ 43 ของโลก (moon unwell) แต่ในขณะเดียวกันประเด็นสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับขยะ เป้าหมายที่ 14 ประเทศไทยยังมีปัญหา เพราะเวลาประเมินจะมองถึงระบบการจัดการขยะว่ามีมากน้อยแค่ไหนที่จัดการได้ถูกต้อง ซึ่งตอนนี้มีเพียง18 % ที่เหลือก็ถูกพัดลงทะเลและกลายเป็นขยะพลาสติก โดยเฉพาะการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล จึงทำให้ประเทศไทยถูกจัดให้มีขยะพลาสติกอันดับ 6 ของโลก ดังนั้นหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคือการทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นประเด็นสำคัญที่ตอบโจทย์หลายด้าน เช่น การจัดการพลาสติกทำอย่างไรให้เข้าระบบได้ ทั้งการลดใช้ทรัพยากร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะเดียวกันต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่นการเกิด Star up”  พร้อมยกตัวอย่างทิศทางการบริหารจัดการมลพิษพลาสติกของประเทศไทย อาทิเช่น โครงการ PPP Plastics (โครงการภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการจัดการขยะและขยะพลาสติก โดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ขับเคลื่อนโครงการนำร่องหลายโครงการเพื่อจัดการขยะพลาสติกครบวงจร ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เช่น โครงการการจัดการขยะและขยะพลาสติกในเมืองที่เขตปทุมวัน และเขตคลองเตย รูปแบบบริการทั้งจังหวัด ที่ระยอง หรือ การจัดการขยะและขยะพลาสติกในพื้นที่เกาะที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนา 2 หัวข้อที่น่าสนใจ “สนธิสัญญาพลาสติกโลก การปรับตัวอุตสาหกรรมไทย” วิทยากร ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณวิรัช เกลียวปฎินนท์ เป็นกลุ่ม ผู้ประกอบสมาชิกอุตสาหกรรมพลาสติกนับร้อยราย มีวิสัยทัศน์ของกลุ่ม “เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยเพื่อความเป็นเลิศควบคู่กับการอยู่ร่วมกันกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”  กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็นวิคโค จำกัด คุณณัฐนันท์ ศิริรักษ์ โรงงานพลาสติกรีไซเคิลแบบครบวงจรคุณภาพสูง Food Grade มาตรฐานระดับโลกแห่งแรกในประเทศไทยและมีกำลังการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และ ผู้จัดการโปรแกรม สถาบันยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลกคุณฌอเฌอ เทวบริหารตระกูล ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเข้าร่วมประชุมสนธิสัญญาพลาสติกที่ผ่านมาและท่าทีของผู้เข้าร่วมประชุมนานาชาติ

นอกจากนี้มีการประชุมการเสวนา “การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โอกาสเศรษฐกิจหมุนเวียนพลาสติก ธุรกิจ ชุมชน กรณีศึกษา Start Up แพลตฟอร์ม ธุรกิจชุมชน แฟชั่นแบรนด์ตลาดโลก” โดยคุณเปรม พฤกษ์ทยานนท์ ผู้ก่อตั้ง Green2Get ดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้รีไซเคิล สามารถเข้าร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ง่ายที่สุด ด้วยความเชื่อที่ว่าการสร้างความตระหนักรู้ หรือให้ความรู้ ใน social media ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างแท้จริง   คุณวิชการ ปลอดกระโทก CEO และ Co-Founder สตาร์ทอัพ Wake Up Waste แอปพลิเคชั่นและรถบีบอัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการจัดเก็บขยะรีไซเคิล ครบวงจรสำหรับอาคารสำนักงาน คอนโด โรงแรม โรงพยาบาล   คุณกฤติกา ชัยวิไล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Earthology Studio เป็นตัวแทนของแบรนด์ที่เชื่อในเรื่องการนำเทคโนโลยีมาสร้างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ใหม่ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่สร้างความร่วมมือในสังคม  และคุณนภาพัฒน์ อู่เจริญ ประธานกลุ่มศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิลชุมชนวัดซากลูกหญ้า จังหวัดระยอง กลุ่มที่ประสบความสำเร็จพัฒนาศูนย์รีไซเคิลชุมชนสร้างสวัสดิการ รายได้ให้สมาชิกกว่าสามร้อยคนในชุมชน จากการแยกขยะพลาสติกได้คุณภาพส่งต่อตรงให้โรงงานอุตสาหกรรมแบบ บริษัทเอ็นวิคโค สม่ำเสมอเดือนละกว่า 4-5 ตัน

การเสวนาวันนี้ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมาคือ เดือน Plastic Free July  เป็นความพยายามของประชาคมโลกขับเคลื่อนลดมลพิษพลาสติก จะนำไปสู่ได้เรียนรู้รูปแบบธุรกิจในรูปแบบต่างๆของภาคเอกชนไทย สะท้อนศักยภาพของประเทศไทย ที่ผ่านปัญหาอุปสรรค จนขับเคลื่อนเป็นรูปแบบธุรกิจที่ควบคู่การแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติก สามารถพัฒนาคุณภาพสินค้า บริการ และสร้างความโปร่งใสตอบสนองเป้าหมาย Net zero  และสร้างโอกาสขยายผลต่อยอดลดปัญหามลพิษพลาสติกของประเทศไทยและภูมิภาค ดร.วิจารย์ กล่าวทิ้งท้าย

Skip to content