บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ Creative Young Designer Season 4 ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยนำนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ลงพื้นที่กลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยมีคุณนิ่มนวล นาโพธิ์ตอง เป็นประธานกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม และสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม เพื่อรับฟัง ความต้องการของชุมชน และรับฟังปัญหา พบว่า ความต้องการและปัญาหาของชุมชนคือ ต้องการมีมาตรฐานการโชว์สินค้าชุมชนอย่างมีระบบแบบแผน และพัฒนาจัดทำ Studio เพื่อจัดแสดงผลงานสินค้าให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม /การออกแบบ Packaging สำหรับบรรจุผ้า และออกแบบชุดแฟชั่นต่างๆเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆให้ทันสมัยตามยุคแต่ยังคงซึ่งอัตลักษณ์ของบ้านไทรงามอย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้จะเป็นวิสาหกิจชุมชนเล็กๆ แต่กับมีสินค้านวัตกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาของคนที่นี่ ซึ่งปัจจุบันนี้ทางกลุ่มจะจำหน่ายผลิตผลิตภัณฑ์ขายตามออเดอร์ ทั้งคนรู้จักในพื้นที่โดยส่งขายตามตจว.และกรุงเทพฯ ตามความต้องการของชุมชน และช่องทาง FB /
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2567 คณะอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ลงพื้นที่ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ทางกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม ทำการคัดเลือกผลงานที่ตรงใจมากที่สุด ของนักศึกษา 3 สาขาวิชาเรียน ได้แก่ สาขาวิชาการออกแบบกราฟิก / สาขาการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น / สาขาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วย การออกแบบแฟชั่นสินค้า / การออกแบบแพคเกจจิ้ง และการสร้าง Studio โชว์ผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมจัดชุดแฟชั่น/ ผลิตภัณฑ์ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)คาดหวังว่า โครงการ Creative Young Designer Season 4 จะได้สร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมให้กับวิสาหกิจชุมชน ในการดำเนินธุรกิจดัดแปลงให้เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงามอย่างยั่งยืน .
ทางด้าน คุณนิ่มนวล นาโพธิ์ตอง ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม ได้กล่าวหลังจากที่ได้เห็นผลงานการออกแบบ Studio เพื่อจัดแสดงผลงานสินค้า / การออกแบบ Packaging สำหรับบรรจุผ้า และการออกแบบชุดแฟชั่นต่างๆเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆให้ทันสมัยตามยุค นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่ร่วมในโครงการ Creative Young Designer Season 4 กล่าวว่า
“ รู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของนักศึกษาที่ได้สร้าง Studio/ การออกแบบแฟชั่นสินค้า /การออกแบบแพคเกจจิ้ง ให้กับกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม สิ่งเหล่านี้เป็นความประสงค์ของเราที่ได้ขอความช่วยเหลือจากโครงการ เพราะเราอยากได้พื้นที่โชว์ลายผ้าต่างๆ รวมถึงต้องการต่อยอดทางธุรกิจให้มากขึ้น แต่ก่อนเวลานักท่องเที่ยว/ หน่วยงานราชการหรือภาคเอกชนแวะมาก็จะไม่มีโซนโชว์สินค้า นับว่าเป็นการจัดระเบียบใหม่ เมื่อนักศึกษาสร้าง Studio เสร็จก็ได้จัดวางเสื้อผ้าในรูปแบบใหม่อย่างสวยงาม ด้าน Packaging ที่ใช้ในการบรรจุผ้าน้องๆออกแบบมาดูทันสมัยมากๆ ทำให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มมากขึ้น น่าจับต้อง นวลขอบคุณที่ทำให้ความต้องการของกลุ่มทอผ้าบ้านไทรงาม เป็นจริงนะคะ เราจะดูแลรักษา สิ่งที่เราได้รับเป็นอย่างดีคะ” คุณนวลกล่าว
ด้าน นางสาวศิรินันทา ธรรมปุรา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้กล่าวกับทีมงานด้วยรอยยิ้มหลังงานเสร็จว่า “ หลังจากที่พวกเราได้ลงพื้นที่ครั้งแรกที่บ้านไทรงามเพื่อรับโจทย์จากพี่นวลเราจึงทราบปัญหาและความต้องการของกลุ่มทอผ้า ซึ่งเราค่อนข้างกดดันพอสมควรกับการรับมือในการออกแบบ Studio ให้ตรงใจชุมชนเพราะต้องออกแบบในแนวที่มีความยั่งยืน สร้างจากวัสดุที่ เหลือใช้ อาทิ ไม้แผ่น ไม้ไผ่ รวมถึงเครื่องจักรสานเสื่อลำแพน ผ้าขาวม้า ที่มีอยู่ เราจึงต้องวางแผนในการประกอบวัสดุเข้าด้วยกันให้มีมูลค่าเหมือนการสร้างงานศิลปะ ต้องกลับมานั่งคิดกันว่าควรเอาส่วนไหนมาประกอบให้ดูดีสวยงาม มีการปรับแก้ไขหลายรอบ ทั้งนี้อาจารย์ประจำวิชาก็คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ตลอด เมื่อวันที่คุณนวลได้ตัดสินใจเลือกการออกแบบของทีมเรา เราดีใจมากเรียกว่าหายเหนื่อยจากที่ทุ่มเทและตั้งใจมากๆ โดยพวกเราคุยกันว่าจะทำการก่อสร้างงานชิ้นนี้ให้ออกมาดีที่สุดคะ วันนี้งานสำเร็จแล้วรู้สึกภูมิใจที่เราทำได้ ภูมิใจที่พี่นวลชอบ นับว่าพวกเราได้สร้างประสบการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งกับสภาพแวดล้อมเพราะ ย้อนไปก่อนจะก่อสร้าง Studio ที่ดินตรงนี้เป็นพื้นที่ในตัวบ้าน เราจึงตั้งใจสร้างแลนด์สเคปให้เกิดเป็นประโยชน์ สร้างสภาพแวดล้อมให้มีสีสัน สร้างสภาพแวดล้อมขึ้นมาใหม่ การได้ทำงานในโครงการนี้เป็นประโยชน์กับนักศึกษาอย่างมาก เป็นประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมกันทำกิจกรรมในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอีกด้วยคะ “
ในส่วนความคิดเห็นของน้องนักศึกษาชายรุ่นพี่ นายธนัช เรือนทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อีกหนึ่งคนที่เป็นเรี่ยวแรงแห่งความสำเร็จนี้ “ งานนี้ในฐานะรุ่นพี่ปี 3 ผมกับเพื่อนๆรับทำหน้าที่เป็นช่างก่อสร้างและประกอบชิ้นส่วนต่างๆของ Studio ประกอบด้วยผนังที่ทำจากไม้โครงสน และสามารถนำผ้าขาวม้ามาใส่เป็นลายศิลปะได้ นอกจากนี่ก็จะมีชั้นวางสินค้า ราวผ้า ฐานวางสินค้าซึ่งมีความยากค่อนข้างเยอะ ประกอบชิ้นส่วนออกมาแล้วก็ต้องทำการขนไปประกอบในสถานที่จริง และก็ต้องไปแก้ไขชิ้นส่วนต่างๆหน้างานอีก แก้หลายรอบ ไม่จบง่ายๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องประกอบ Studio ออกมาให้แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศของชุมชนด้วย สิ่งที่ผมได้รับจากการร่วมกิจกรรมครั้งนี้คือ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เนื่องจากทุกวันนี้ในสังคมเมืองไม่ต้องการเพียงแต่คนเก่งทางวิชาการเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการคนที่มีทักษะ และวิชาชีพ รู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญคือ ทำให้ผมได้มีโอกาสประเมินตนเองไปในตัวว่า จุดเด่น จุดด้อยของตัวเองมีอะไรบ้าง และกลับไปพัฒนาให้ดีขึ้นครับ” นายธนัช กล่าว
สำหรับโครงการ Creative Young Designer Season 4 จะเป็นการนำเอาความรู้ความสามารถด้านการออกแบบและการตลาดของนักศึกษาคนรุ่นใหม่ ไปลงพื้นที่ศึกษาปัญหาช่วยชุมชน โดยชุมชนมีสินค้าที่ดี แต่ขาดไอเดียใหม่ ๆ ในการพัฒนาต่อยอดสินค้า ทั้งการ Design และช่องทางการขายสมัยใหม่ โครงการฯ จึงทำหน้าที่เชื่อม 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาและชุมชน จะทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ยุคใหม่ เข้าถึงช่องทางการขายสมัยใหม่ ทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น ได้องค์ความรู้เพื่อการต่อยอด ซึ่งจะทำให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
More Stories
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
เอสซีจี เดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในอาเซียน มอบทุนอีก 3 ประเทศ
คาร์กิลล์ สานต่อ ‘โครงการเกษตรอาหารกลางวัน’ สร้างความยั่งยืนทางอาหารให้เยาวชนไทย ตอกย้ำการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารโลก