26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

วีซ่า พัฒนาโซลูชันบัตรสุดล้ำพร้อมเผยโฉมผลิตภัณฑ์ใหม่รับยุคดิจิทัล

    กรุงเทพฯ – วิธีการจ่ายและรับชำระเงินของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในห้าปีที่ผ่านมามากกว่าในช่วงห้าทศวรรษก่อน โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปิดรับเทคโนโลยีเพื่อประสบการณ์ชำระเงินใหม่ๆ ตั้งแต่การค้าขายแบบดิจิทัลไปสู่การชำระเงินแบบ “แตะ” เพื่อจ่ายที่ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากผู้บริโภคและร้านค้าทั่วโลก ในวันนี้ วีซ่า พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่กำลังจะให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งโซลูชันใหม่เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปฏิวัติการใช้บัตรในการชำระเงิน และตอบสนองต่อความต้องการในอนาคตของบรรดาธุรกิจ ร้านค้า และผู้บริโภค รวมถึงสถาบันการเงิน

“นวัตกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมด้านการเงิน เพราะการชำระเงินเป็นกลไกที่ทำให้การค้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต และในปัจจุบันยังถือว่ามีโอกาสอีกมากที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศการชำระเงินจะร่วมสร้างประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆ ร่วมกัน ดังนั้นเราจึงควรร่วมกันผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับเหล่าพันธมิตร เพื่อปลดล็อกอุปสรรคต่างๆ และสร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับผู้บริโภค ร้านค้า ตลอดจนชุมชนในท้องถิ่นที่เราอาศัยและทำงานอยู่” สตีเฟน คาร์พิน ประธานบริหาร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของวีซ่า กล่าว

ขณะที่ ทีอาร์ รามจันดรัน หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันประจำเอเชียแปซิฟิกของวีซ่า ได้ให้ความเห็นว่า “เราเห็นว่าวิธีการที่ผู้บริโภคจับจ่ายและบริหารข้อมูลข่าวสารของตนเองในยุคไฮเปอร์ดิจิทัลนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าในอดีต เราเชื่อว่าโซลูชันใหม่ที่เปิดตัวนี้จะมอบประสบการณ์การชำระเงินแบบดิจิทัลที่แท้จริงให้แก่ผู้บริโภค และทำให้การค้าขายตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้มากกว่า อีกทั้งยังสะดวก และปลอดภัยยิ่งขึ้น”

ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่จากวีซ่าที่เปิดเผยในครั้งนี้ จะเริ่มออกสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิกในปีนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย

Visa Flexible Credential” เลือกชำระด้วยวีซ่าได้หลายแบบผ่านข้อมูลชุดเดียวกัน

การศึกษาของวีซ่า พบว่า เกินครึ่งของผู้ใช้บัตรชำระเงิน อยากที่จะเข้าถึงหลายบัญชีโดยใช้เพียงข้อมูลตัวตนชุดเดียว (เช่น เลขบัตรเครดิต 16 หลัก)[1]  ที่ Visa Flexible Credential จะตอบสนองความต้องการนี้  โดยผู้ถือบัตรสามารถใช้ข้อมูลตัวตนชุดเดียวให้สามารถเลือกวิธีการชำระเงินที่แตกต่างได้  นอกจากนี้ผู้ถือบัตรยังสามารถเลือกได้ว่าจะใช้บัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือผ่อนชำระแบบ 4 งวด ร่วมกับบริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง หรือแม้แต่การชำระด้วยคะแนนสะสมได้อย่างง่ายดายด้วยชุดข้อมูลยืนยันผู้ใช้ของวีซ่าชุดเดียว  ในเอเชียแปซิฟิก บริษัท ซูมิโตโม มิตซุย การ์ด (Sumitomo Mitsui Card Company: SMCC) เป็นธนาคารแห่งแรกที่ใช้โซลูชันชำระเงินแบบใหม่นี้ รู้จักในชื่อ “โอลีฟ” (Olive)[2]  โซลูชันนี้ปัจจุบันมีให้บริการแล้วในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และจะเปิดตัวเพิ่มเติมในตลาดเอเชียแปซิฟิกในปีนี้อีกด้วย

Tap to Everything” แตะจ่ายได้ทุกสิ่ง

ปัจจุบันมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่รองรับเทคโนโลยี NFC แบบอเนกประสงค์ซึ่งเตรียมไว้สำหรับใช้งาน “แตะเพื่อจ่าย” สำหรับผู้บริโภคมากถึง 6,000 ล้านเครื่อง[3]  ในปลายปี 2566 ความแพร่หลายของบริการ “แตะเพื่อจ่าย” ของวีซ่ามีมากถึง 65% ทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2562  สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าบริการแตะเพื่อจ่ายเป็นหนึ่งในประสบการณ์ลูกค้าที่ดีที่สุดในปัจจุบัน[4]

ในปีนี้ วิธี “แตะ” แบบใหม่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์การชำระเงินดิจิทัลของวีซ่า

  • Tap to Phone: การใช้งานที่ให้สมาร์ทโฟนสามารถเป็นเครื่องรับชำระเงินได้
  • Tap to Confirm: แตะเพื่อยืนยันตัวตนได้อย่างง่ายดายเมื่อชอปออนไลน์
  • Tap to Add Card: แตะบนสมาร์ทโฟนเมื่อทำการเพิ่มบัตรชำระเงินใน อีวอลเล็ทหรือแอป เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  • Tap to P2P (person-to-person): แตะเพื่อการโอนเงินระหว่างคนในครอบครัว และเพื่อน 

“Click to Pay” คลิกเพื่อจ่าย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อซื้อของออนไลน์นั้น ขั้นตอนการชำระเงินได้สร้างความยุ่งยากให้กับผู้บริโภคไม่น้อย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ต้องกรอกข้อมูลบัตร และผ่านขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ  การคลิกเพื่อจ่าย (Click to Pay) จะช่วยตัดขั้นตอนที่น่าหงุดหงิดนี้ และช่วยให้ประสบการณ์การชอปออนไลน์เป็นไปอย่างไร้รอยต่อและปลอดภัยยิ่งขึ้น โซลูชันนี้ช่วยให้ผู้บริโภคจบขั้นตอนการทำธุรกรรมออนไลน์ได้เพียงไม่กี่คลิก โดยการเลือกชำระเงินผ่านบัตรของวีซ่าที่กรอกข้อมูลไว้ก่อนหน้าแล้ว นอกจากนี้วีซ่าเองได้ร่วมกับธนาคารผู้ออกบัตรหลายแห่งทั่วเอเชียแปซิฟิกเพื่อเปิดให้บริการ คลิกเพื่อจ่าย สำหรับบัตรวีซ่ารุ่นใหม่ โดยช่วยลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูล  และรหัสผ่านของบัตรด้วยตนเองได้ตั้งแต่ตอนที่ได้รับบัตร

Data Tokens

ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วีซ่าได้ทำให้ระบบนิเวศการชำระเงินดิจิทัลปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยโทเค็น ซึ่งทดแทนข้อมูลบัญชีผู้ถือบัตรออกจากขั้นตอนการชำระเงิน จนถึงวันนี้วีซ่ามีการทำธุรกรรมในรูปแบบโทเค็นมากกว่า 1,000 ล้านครั้งทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มร้านค้าและสถาบันการเงินผู้ออกบัตร[5] และในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่ระเบียบข้อบังคับจากหน่วยงานผู้กำกับดูแลและภาครัฐกำหนดให้การคุ้มครองข้อมูลความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้บริโภคเข้มข้น  ประกอบกับการที่เทคโนโลยีเจน AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงการค้นหาสิ่งต่างๆ บนโลกออนไลน์  ดังนั้นวีซ่าเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ช่วยปกป้องข้อมูลการชำระเงินของผู้บริโภคจะสามารถสร้างประสบการณ์ทางการค้าในยุคดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้นอีก

กล่าวคือเทคโนโลยีโทเค็นของวีซ่าจะช่วยผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดว่าข้อมูลของตนเองจะถูกแชร์ได้กับใครและที่ไหน และยังสามารถยกเลิกการแชร์ข้อมูลได้เองเพียงเข้าไปในแอปพลิเคชันธนาคาร  นอกจากนั้นในส่วนของร้านค้าก็สามารถขอข้อมูลของผู้บริโภคจากวีซ่าและสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการ  เพื่อที่จะนำข้อมูลการใช้จ่ายไปวิเคราะห์  และนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงต่อความต้องการเฉพาะบุคคล  ซึ่งในกรณีที่ผู้บริโภคยินยอม ส่วนหลังบ้านของวีซ่าจะส่งชุดข้อมูลแบบโทเค็นให้กับร้านค้าพร้อมกับข้อมูลการทำธุรกรรมที่ถูกประมวลด้วยระบบ AI เพื่อที่ร้านค้าออนไลน์จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และสิทธิประโยชน์แบบเรียลไทม์แก่ผู้ซื้อ ซึ่งข้อมูลโทเค็นชุดเดียวกันจะถูกส่งไปยังธนาคารของลูกค้าเพื่อให้เห็นว่าข้อมูลใดถูกแชร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการแชร์ข้อมูลเกิดขึ้นที่ใด และผู้บริโภคก็สามารถเพิกถอนการแชร์ข้อมูลให้กับร้านค้าได้หากต้องการ

[1] ที่มา: จากการศึกษา Visa Flex Consumer  ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นการประเมินผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณค่าของแบรนด์ที่ส่งมอบให้ลูกค้าเพื่อสนับสนุนการเสนอขายผู้ออกบัตร ของวีซ่า (เฉพาะตลาดเอเชียแปซิฟิก)

[2] https://www.smfg.co.jp/english/gr2023/pdf/2308_ird_e19.pdf

[3] Statista Data 2023: https://www.statista.com/statistics/330695/number-of-smartphone-users-worldwide/

[4] ข้อมูล VisaNet เดือนธันวาคม 2566, เดือนธันวาคม 2562

[5] ข้อมูล: : https://www.visa.com.vn/en_VN/about-visa/newsroom/press-releases/visa-tokens-bring-usd2-billion-uplift-to-digital-commerce-in-asia-pacific.html

Skip to content