เมื่อความยั่งยืน (Sustainability) เป็นเป้าหมายสำคัญที่ธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกมุ่งหวังให้เกิดขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่มาพร้อมกับโลกที่ไร้สมดุล เพราะเมื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทำให้โลกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและลบ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนภาวะโลกไร้สมดุล มี 4 ปัจจัยได้แก่ 1) Globalization โลกาภิวัตน์ทำให้การดำเนินธุรกิจ การขนส่ง และการสื่อสารเปลี่ยนไป 2) Demographic Shift การเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรศาสตร์ เช่น อัตราการเกิดต่ำ สังคมสูงวัย 3) Customer Behavior พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ทำให้การแข่งขันด้านการตลาดรุนแรงขึ้น และ 4) Pollutions & Climate Change มลภาวะและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โรคทางเดินหายใจ และความเครียด
finbiz by ttb จึงขอเสนอการใช้แนวทาง Lean และ Green สำหรับธุรกิจเพื่อรับมือกับความเสี่ยง ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
จากความเสี่ยงข้างต้น ปัจจุบันบริษัทชั้นนำทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่มีทั้งสิ้น 17 หมวด สะท้อน 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน คือ มิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้มีดังนี้
- การบริหารความเสี่ยงองค์กร วางแผนผังความเสี่ยงเพื่อจัดการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงทั้งภายนอกและภายในองค์กร
- การใช้แนวคิด ESG นำแนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) มาปรับใช้เพื่อพัฒนาองค์กรและธุรกิจอย่างยั่งยืน
- การประเมินความยั่งยืน ธุรกิจสามารถประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรในระดับสากลได้จากการจัดอันดับของบริษัทระดับโลก เช่น S&P Global, MSCI, DJSI
การนำกลยุทธ์ ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ จะส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพองค์กรและราคาในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับการดำเนินกลยุทธ์ Lean และ Green เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ธุรกิจขนาดใหญ่ควรกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน และวางกลยุทธ์ดังนี้
- การเก็บข้อมูลและปรับปรุงกระบวนการ สร้างทีมเก็บข้อมูลและนำกิจกรรมที่เคยทำอย่างไม่เป็นชิ้นเป็นอันมารวมกัน
- การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital) บริหารจัดการให้ทุกคนในองค์กรคิดและทำในทิศทางเดียวกัน
- การลดต้นทุนและสร้างรายได้ ทุกกิจกรรมต้องสามารถลดต้นทุน หรือสร้างรายได้ที่เติบโต
- การเข้าร่วมโครงการ Green ตั้งเป้าหมายให้ส่วนใหญ่ของธุรกิจเข้าร่วมโครงการ Green ทั้งของภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างมาตรฐานและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งมีกลุ่มที่จะแลกเปลี่ยนความคิดและแนวทางในการปรับตัวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
- การวางแผนให้ครอบคลุมไปถึงซัพพลายเชน ออกแบบกระบวนการร่วมกันตั้งแต่แรกเพื่อให้กาดำเนินธุรกิจเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
แนวทางเหล่านี้ได้จากการศึกษาการดำเนินงานของเครือโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งใช้ Lean และ Green เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจเฮลท์แคร์สู่ความยั่งยืน โดยบริหารจัดการความเสี่ยงและใช้แนวคิด ESG เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกด้าน ตั้งแต่การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ การลดต้นทุน การเข้าร่วมโครงการ Green Healthcare และการวางแผนซัพพลายเชน ทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล รวมไปถึงธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้
ที่มา : จากหลักสูตร “LEAN for Sustainable Growth by ttb” รุ่นที่ 19 สำหรับอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ (Healthcare)
More Stories
รฟฟ.บีแอลซีพี ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 1.6 ล้านตัว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 22 สานต่อ ESG หนุน SDGs
OR ตอกย้ำแนวคิดสังคมสะอาด มอบรางวัลโครงการ “แยก แลก ยิ้ม School Camp ประจำปี 2567”
เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ ร่วมบรรยายในงานประชุม The 58th