- 95% ของพนักงานอยากให้องค์กรทดลองลดการทำงานลงเหลือ 4 วัน / สัปดาห์
- 77% ขององค์กรเห็นว่ารูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เป็นไปได้ แต่มีเพียง 26% เท่านั้นที่มีแผนจะปรับใช้นโยบายนี้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า
- 75% ของพนักงานสนใจที่จะสมัครงานกับองค์กรที่ปรับใช้รูปแบบการทำงาน 4 วัน / สัปดาห์
- 46% ขององค์กรที่เห็นว่านโยบายนี้เป็นไปได้เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
ประเทศไทย
กลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ในประเทศไทยพยายามค้นหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อดึงดูดคนเก่ง และหนึ่งในแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่คือ “การทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์” ที่กำลังเป็นที่พูดถึงทั้งในเกาหลีและอินโดนีเซียเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลก ได้สำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในเอเชีย
ข้อมูลเชิงลึกนี้อ้างอิงจากรายงานล่าสุดของ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ที่ชื่อว่า “ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ : พร้อมเปลี่ยนหรือไม่ในเอเซีย” (“The 4-day work week: Is Asia ready for it?”) ซึ่งได้ทำการสำรวจบุคลากรและองค์กรกว่า 5,000 แห่งใน 11 ประเทศทั่วเอเชีย จากรายงานพบว่า 95% ของพนักงานในประเทศไทยต้องการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ และมากกว่าครึ่งของผู้ที่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ (58%) เชื่อว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา
แม้ว่าองค์กรในประเทศไทยถึง 77% มองว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์มีความเป็นไปได้ แต่ยังมีความลังเลหากต้องนำมาใช้จริง โดยมีเพียง 26% เท่านั้นที่เผยว่ามีแผนที่จะปรับใช้นโยบายนี้ ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า
คุณปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการประจำประเทศไทยของโรเบิร์ต วอลเทอร์ส กล่าวว่า
“ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ใดๆก็ตาม สิ่งสำคัญคือการพิจารณาทางเลือกที่หลากหลายที่จะได้รับประโยชน์ทั้งในมุมองค์กรและในมุมพนักงาน ซึ่งการปรับใช้รูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์อาจนำไ��สู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวก โดยให้ผลลัพธ์ในด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อย่างไรก็ตาม องค์กรเองก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของความท้าทายและผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นด้วย”
องค์กรยังคงแสดงความกังวลต่อรูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์
เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย การใช้นโยบายการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าแม้ว่าในภาพรวมจะเปิดกว้างก็ตาม ทั้งนี้ แนวทางที่ได้รับความนิยมสำหรับองค์กรไทยในการดึงดูดและรักษาบุคลากร ได้แก่ โครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน (41%) และโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ (27%)
องค์กรที่มองว่ารูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ไม่สามารถทำได้จริง มีความกังวลที่สำคัญ ได้แก่ ผลกระทบเชิงลบต่อการให้บริการลูกค้า เนื่องจากพนักงานไม่เพียงพอในการให้บริการ (67%) ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เป็นผลจากการดำเนินโครงการล่าช้า (50%) และความยุ่งยากในการนำนโยบายมาปรับใช้ทั้งองค์กร ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่พอใจในหมู่พนักงาน (42%)
อย่างไรก็ตาม องค์กรถึง 90% ที่มองว่านโยบายนี้เป็นไปได้ เชื่อว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 66% นอกจากนี้ องค์กร 77% คิดว่านโยบายนี้จะช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานไว้ในบริษัท และ 46% เชื่อว่ารูปแบบนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้
ทำงานดี ไม่ได้แปลว่าต้องทำงานหนัก
58% ของพนักงานที่ต้องการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ จำนวน 36% มีความกังวลในเรื่องความเครียดที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานในจำนวนวันน้อยลงแต่ยังคงมีปริมาณงานเท่าเดิม นอกจากนี้ 27% กังวลว่าอาจจะมีการลดค่าจ้างตามมา
นอกจากนี้ 18% ของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย มีความกังวลในด้านค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีเวลาว่���งเพิ่มมากขึ้น โดยพวกเขาต้องการใช้เวลานั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้าทางอาชีพมากกว่า พนักงานในไทย (59%) ยินดีที่จะทำงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้สามารถทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ได้โดยยังคงได้รับค่าจ้างเท่าเดิม นอกจากนี้ 45% ของพนักงานยังยินดีที่หยุดการทำงานแบบไฮบริดหรือกิจกรรมงานสังคมต่างๆ
การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์คือทางเลือกที่ใช่ของเอเชียในการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานและช่วยรักษาบุคลากรหรือไม่?
ทั่วทั้งภูมิภาค องค์กรและพนักงานต่างเปิดรับข้อดีของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและช่วยดึงดูดและรักษาบุคลากร
- ในมาเลเซีย ในมุมมองของกลุ่มที่สนับสนุนนโยบายนี้ 74% เชื่อว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ในขณะที่ 50% อยากให้ลองปรับใช้นโยบายนี้ เพราะเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานได้
- ในฮ่องกง 94% ขององค์กรที่เชื่อว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์สามารถทำได้จริง เชื่อว่าจะช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานไว้ได้ โดยมีพนักงานถึง 91% ที่คิดว่าตนเองมีแนวโน้มที่จะสมัครงานในบริษัทที่เสนอสัปดาห์การทำงาน 4 วัน
อย่างไรก็ตาม องค์กรหลายแห่งในอินโดนีเซียและเกาหลีมีแนวโน้มที่จะพิจารณาหรือนำเสนอนโยบายอื่นๆแทนที่นโยบายการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เช่น โครงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต รวมถึงโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ เป็นต้น
“ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ : พร้อมเปลี่ยนหรือไม่ในเอเซีย” (“The 4-day work week: Is Asia ready for it?”) เป็นรายงานที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานและองค์กรกว่า 5,000 แห่งใน 11 ประเทศอาเซียนรวมถึงสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ การสำรวจนี้ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเผยมุมมองเกี่ยวกับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อพนักงานและองค์กรในเอเชีย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรเบิร์ต วอลเทอร์สในประเทศไทย สามารถเข้าชมได้ที่ www.robertwalters.co.th
More Stories
ออกรถมือสองต้องเตรียมอะไรบ้าง
วีซ่าชูเทรนด์ท่องเที่ยวมาแรงในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทย ปี 2567
เมื่อโลกเกิดภัยพิบัติ… เจาะลึกบทบาทผู้ผลิตไฟฟ้า กับการส่งมอบพลังงานที่มั่นคงและต่อเนื่อง