• ภาครัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติ องค์กรไม่แสวงผลกำไร และ ภาคเอกชนจาก 9 ประเทศ/ตลาดในเอเชีย แปซิฟิก ร่วมลงนามความร่วมมือร่วมสนับสนุนด้าน ‘Self-care’
• แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการขานรับแนวคิดจากองค์การอนามัยโลกที่ว่า “การดูแลตนเอง” คือรากฐาน แห่งการสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ผู้แทนรัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติ องค์กรไม่แสวงผลกำไร พร้อมด้วยภาคเอกชนร่วมลงนามความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของการดูแลตนเอง รวมถึงผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องในการยกระดับคุณภาพชีวิตในภาคพื้นเอเชีย
การประกาศความร่วมมือภายใต้แนวคิด “เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” เกิดขึ้นภายในงานประชุมใหญ่ Global Self-care Federation World Congress 2024 ที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงเทพฯ ภายใต้ความร่วมมือของ Global Self-care Federation (GSCF), Asia-Pacific Self Medication Industry (APSMI) และ สมาคมเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (TSMIA) ของประเทศไทย
โดยสมาชิกผู้ร่วมลงนามประกอบไปด้วยองค์กรสมาชิกด้านการ “ดูแลตนเอง” และสมาชิกของ APSMI หรือ สมาพันธ์ผู้ผลิตและจำหน่ายเภสัชภัณฑ์แห่งเอเชีย แปซิฟิกจาก 9 ประเทศ/ตลาด ได้แก่ ญี่ปุ่น ไทย ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลี อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์ นางจูดี้ สเตนมาร์ก ผู้แทนจากสมาพันธ์การดูแลตนเองนานาชาติ หรือ GSCF กล่าวว่า: “ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ มีความท้าทายที่หลากหลาย อาทิ จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCD อยู่ในระดับสูง ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนจำกัด ความท้าทายเหล่านี้มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้น เราจึงจำเป็นต้องเร่งเครื่องผลักดันให้ผู้คนหันมาดูแลตนเองให้ดีขึ้นเพื่อลดภาระในระบบดูแลสุขภาพ ทั้งนี้ ‘ถ้อยแถลงความร่วมมือกรุงเทพฯ ด้านการดูแลตนเอง’ จะช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทส่งเสริมการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า”
ทั้งนี้ งานประชุมใหญ่ Global Self-care Federation World Congress 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘‘Self-care in Healthcare: A Shared Vision of Asia Pacific’’ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเวทีให้ผู้ประกอบการ องค์กรไม่แสงผลกำไร และหน่วยงานกำกับดูแลนโยบายในภูมิภาคได้มารวมตัวกันเพื่อพูดคุยและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพของประชาชนในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิก งานดังกล่าวเป็นการต่อยอดการดำเนินงานตามหลักการที่ธรรมนูญองค์การอนามัยโลกและเป้าหมาย การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติได้กำหนดไว้ว่าสิทธิด้านสุขภาพเป็นสิทธิพื้นฐานและ การกำกับดูแลงานด้านสุขภาพต้องสร้างการมีส่วนร่วม โดยในปีที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในภูมิภาคละตินอเมริกาได้ลงนามในปฏิญญาเซาท์ เปาโล (São Paulo Declaration on Self-Care) ว่าด้วยเรื่องการดูแลตนเองไปแล้ว
นางซิลเวีย ไซ ประธานสมาพันธ์ APSMI กล่าวว่า: “การประกาศความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสร้างโอกาสในการผลักดันขับเคลื่อน การดูแลตนเองตลอดจนพัฒนายก ระดับนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือนี้จะช่วยให้เรามีอำนาจที่จะกำหนดกรอบการกำกับดูแล ขจัดอุปสรรคและสร้างนโยบายที่ไม่เพียงแต่ครอบคลุมทั่วถึงหากแต่ยังเสริมศักยภาพการดูแลตนเองจนคนทั่วไปสามารถตัดสินใจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ได้ดียิ่งขึ้น” ผู้ลงนามในข้อตกลงร่วมกัน มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการดูแลตนเองโดย:
• ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ด้านการดูแลตนเองเพื่อให้ผู้คนมีความรู้ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
• ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและโซลูชันดิจิทัล
• ยกระดับความร่วมมือและการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ-ภาคเอกชน
• สร้างเสริมให้มีความเสมอภาคและความทั่วถึง
• สร้างเสริมการกำกับการดูแลตนเองให้ดียิ่งขึ้น
พญ. จุนโกะ ซาโตะ รองประธานองค์กร Self-CARER (องค์กรเภสัชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ PMDA) กล่าวว่า: “การส่งเสริมการดูแลตัวเอง จะช่วยให้คนตื่นตัวกับการจัดการเรื่องสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาและยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม เราต้องไม่มองข้ามเรื่องการดูแลตัวเองเพราะเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เมื่อเราตระหนักถึงคุณค่าของการดูแลตัวเองแล้ว เราควรบูรณาการแนวปฏิบัติด้านการดูแลตนเองสู่ระบบดูแลสุขภาพด้วยเพราะจะส่งเสริมให้ผลงานด้านสุขภาพของประชาชน ดีขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก”
นอกเหนือจากการประกาศความร่วมมือดังกล่าวแล้ว ภายในงานยังได้มีการเผยผลการศึกษา จากงานวิจัย 3 ชิ้นด้วย โดย 2 ใน 3 เป็นผลงานของสมาพันธ์ผู้ผลิตและจำหน่ายเภสัชภัณฑ์แห่งเอเชียแปซิฟิกเกี่ยวกับเรื่องฉลากอิเล็กทรอนิกส์และสุขภาพดิจิทัล ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นเป็นของสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ABC) เกี่ยวกับบทบาทเชิงกลยุทธ์ของการดูแลตนเองงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย เหล่านี้เป็นงานวิจัยใหม่ที่นำผลการศึกษามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกและเน้นย้ำให้เห็นว่ามีงานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อคนหันมาดูแลตนเองพวกเขา จะสามารถป้องกันโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
More Stories
ประเทศไทยเปิดตัวไข่ไก่รับรองมาตรฐานจาก Certified Humane® ครั้งแรก เพื่อตอบรับเทรนด์ผู้บริโภคใส่ใจสวัสดิภาพที่ดีของสัตว์ในฟาร์ม
ไทยเบฟร่วมมือ SGX Group สนันสนุนองค์กรการกุศลผ่านกิจกรรม SGX Cares Bull Charge Charity Run
APCO ร่วมกับ มูลนิธิพอ จัดกิจกรรม “เพิ่มโอกาสชีวิตด้วยพลังภูมิคุ้มกัน” ปีที่ 2 เสริมสร้างคุณภาพชีวิตเด็กบ้านโฮมฮัก จังหวัดยโสธร