กฟผ. ร่วมเป็นคณะผู้ แทนไทยนำเสนอผลงานบนเวที Thailand Pavilion ของการประชุม COP 29 พร้อมชูกลยุทธ์ Triple S นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่ อนการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อม มุ่งผลักดันประเทศไทยให้บรรลุ เป้าหมาย Carbon Neutrality
นายเอกรัฐ สมินทรปัญญา ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. ร่วมเป็นคณะผู้แทนไทยเข้าร่ วมในกิจกรรมคู่ขนานของการประชุ มรัฐภาคีกรอบอนุสั ญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน นำโดย ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ กฟผ. ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านภาคพลังงานมุ่ งสู่เป้าหมายความเป็ นกลางทางคาร์บอน” (Energy Transition towards Carbon Neutrality) ชูกลยุทธ์ Triple S ได้แก่ Sources Transformation เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลั งงานหมุนเวียน ปรับปรุงโรงไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าด้ วยเทคโนโลยีใหม่ Sink Co-creation เพิ่มแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอน และ Support Measures Mechanism ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุ กภาคส่วนในการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ควบคู่กับพัฒนาโครงการด้ านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่ งแวดล้อมสู่การสร้างคุณค่าร่วม Creating Shared Value (CSV) ให้กับสังคม ชุมชนรอบเขื่อนและโรงไฟฟ้าอย่ างยั่งยืน ด้วยโครงการนำร่อง “แม่เมาะเมืองน่าอยู่” เพื่อพัฒนาให้พื้นที่อำเภอแม่ เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นเมืองเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ด้วย 3 แนวคิด คือ Smart Energy, Smart Environment และ Smart Economy รวมถึงเตรียมขยายผลยังพื้นที่ เขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้ากระบี่ พร้อมด้วยนายชัชวาล วงศ์มหาดเล็ก และนายชาคริต เย็นที่ จากฝ่ายบริหารและก่อสร้ างโรงไฟฟ้า กฟผ. ร่วมนำเสนอผลงานในหัวข้อ “From Waste to Solutions: Compostable Packaging and Biomass Products for a Cleaner Environment” โดยนำวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นชี วมวลอัดแผ่น ซึ่งมีคุณสมบัติลดเสี ยงและความร้อน อีกทั้งยังลดการเผาวัสดุ ทางการเกษตรที่เป็นหนึ่ งในสาเหตุของปัญหา PM2.5 และภาวะโลกร้อน เพื่อช่วยขับเคลื่อนและสนับสนุ นให้ประเทศไทยบรรลุตามเป้ าหมายการลดก๊าซเรื อนกระจกของประเทศ
นอกจากนี้ กฟผ. ยังร่วมจัดนิทรรศการแสดงความก้ าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology) ด้านพลังงานไฟฟ้า ภายใน Thailand Pavilion อาทิ
-
ENZY Platform ระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริ
ยะ ควบคุมและบริหารจัดการพลั งงานไฟฟ้าแบบ Real Time ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยนำข้อมูลการผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงานไฟฟ้าและข้อมูลต่ าง ๆ มาวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อควบคุมแลแนะนำการปรับปรุ งประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมแจ้งเตือนผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่ อมีปริมาณใช้ไฟฟ้าสูงเกินเป้ าหมาย -
EGAT EV Business Solutions ผลิตภัณฑ์และบริการด้
านสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รองรับการเติบโตของอุ ตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ าของประเทศไทย อาทิ บริการออกแบบและติดตั้งสถานี ชาร์จแบบครบวงจร แอปพลิเคชัน EleXA แพลตฟอร์มสำหรับค้นหาสถานีชาร์ จเพื่อวางแผนการเดิ นทางและจองชาร์จ BackEN EV ระบบบริหารจัดการโครงข่ายสถานี ชาร์จและประมวลผลข้อมูล -
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิ
ตย์ทุ่นลอยน้ำในเขื่อนของ กฟผ. (Floating Solar Project) ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดเพื่ อให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลั งงานหมุนเวียนทั้งจากพลั งงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลั งน้ำได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
“กฟผ. มุ่งมั่นนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี พลังงานไฟฟ้ามาพัฒนาโครงข่ ายไฟฟ้าของประเทศ รองรับทุกการเปลี่ยนแปลงด้านพลั งงานเพื่อมุ่งสู่เป้ าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และช่วยเพิ่มขี ดความสามารถการแข่งขั นของประเทศทั้งในระดับภูมิ ภาคและนานาชาติ สร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิ จของประเทศ” นายเอกรัฐ สมินทรปัญญา กล่าวทิ้งท้าย
More Stories
ราช กรุ๊ป – เอไอเอฟ กรุ๊ป – โรนิตรอน จับมือศึกษาและพัฒนาโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจน – กรีนแอมโมเนีย จากพลังงานสะอาดใน สปป.ลาว
“พลังงาน”ชูต้นแบบสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ
นักประดิษฐ์ กฟผ. คว้า 4 รางวัล จากเวทีนานาชาติ iENA 2024 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี