‘ดร.ชนะ ภูมี’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) นำคณะผู้บริหาร เข้าพบ รมว.อุตสาหกรรม รายงานความก้าวหน้าลดคาร์บอน ชงขอแรงหนุน 3 เรื่อง ยกระดับ มอก. 2594 ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเป็นมาตรฐานบังคับ ทำเหมืองในเขตพื้นที่รอยต่อประทานบัตรตามมาตรา 60 สนับสนุนทำเหมืองแหล่งวัตถุดิบ Calcined Clay ช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่การผลิตอย่างยั่งยืน เพิ่มความสามารถการแข่งขันในเวทีโลก และพาไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็น 7.7% ของจีดีพี (GDP) และอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์สู่การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593 ตามแนวทาง Thailand 2050 Net Zero Cement and Concrete Roadmap และสนับสนุนเป้าหมาย Thailand NDC Roadmap ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
ในโอกาส นำคณะผู้บริหารของ TCMA เข้าพบหารือ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ
TCMA ได้รายงานความก้าวหน้าลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม 1) การปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ มาตรฐาน มอก. 2594 และส่งเสริมการใช้งานทุกโครงการก่อสร้างทั่วประเทศ ทำให้ช่วงปี 2566-2567 ลดคาร์บอนได้กว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ 2) การยกระดับทำเหมืองสู่ Smart and Green Mining และการใช้พื้นที่ขุมเหมืองเก่าเป็นแหล่งน้ำสำหรับชุมชน 3) การใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์กำจัดกากอุตสาหกรรม Co-Processing in Cement Kilns ภายใต้แนวคิดการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Concept) รวมไปถึง 4) ความก้าวหน้าโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2570 และเป็นกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแรกของไทยที่เข้าร่วมโครงการ Transitioning Industrial Clusters ของ World Economic Forum
การลดคาร์บอนเป็นเรื่องสำคัญของภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสการเข้าถึงนวัตกรรมสมัยใหม่ที่จะสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรม
TCMA จึงขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ใน 3 เรื่อง
1. การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 เป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าที่ลดการปล่อยคาร์บอน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกัน
2. การทำเหมืองในเขตพื้นที่รอยต่อประทานบัตร ตามมาตรา 60 ของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 เพื่อประโยชน์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามนโยบายภาครัฐ
3. การส่งเสริมแหล่งวัตถุดิบ Calcined Clay สำหรับปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ เพื่อภาคอุตสาหกรรมมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ในสาขา IPPU
“TCMA ขอขอบคุณกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานในสังกัด ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลดคาร์บอน ตามแนวทาง Thailand 2050 Net Zero Cement & Concrete Roadmap ส่งผลให้มีความก้าวหน้าดำเนินงานมาเป็นลำดับ สำหรับ 3 ข้อเสนอนั้น ท่าน รมว. อุตสาหกรรมรับไปพิจารณาหาแนวทาง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมยินดีให้การสนับสนุน และพร้อมร่วมมือกับ TCMA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม” ดร.ชนะ กล่าว
More Stories
BINANCE TH ร่วมกับ GULF จับมือ ม.ธรรมศาสตร์ ลงนาม MoU พัฒนา “บุคลากรสินทรัพย์ดิจิทัล” วางรากฐานประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Digital Asset Hub แห่งอาเซียน
เอสซีจี ร่วมกับ Frasers Property คว้ามาตรฐาน LEED for Homes ประเภท Single Family ระดับ GOLD ที่แรกในอาเซียน ในโครงการ THE GRAND Riverfront Ratchapruek – Rama 5
AMA โชว์งบปี 67 โกยรายได้ 3,158 ลบ.- กำไรสุทธิ 335 ลบ. บอร์ดเคาะเสนอจ่ายปันผล 0.25 บ./หุ้น ขึ้น XD 7 มี.ค.นี้ มั่นใจปี 68 ผลงานเติบโต 2 Digit ดีมานด์ขนส่งทางบกคึกคัก