26 พฤศจิกายน 2024

THE MASTER

ย่อโลกข่าวไว้ในมือคุณ

เจาะลึกความท้าทายด้านผิวของผู้หญิงข้ามเพศในช่วงการเปลี่ยนแปลง และเผยเคล็ดลับการดูแลผิวให้สวยสุขภาพดี

 โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนัท นิสามณี อินฟลูเอ็นเซอร์ผู้หญิงข้ามเพศชื่อดัง

จากผลวิจัยของ IPSOS Global LGBT+ 2023 Pride Survey ประชากรไทยจำนวน 5% ระบุว่าตนเองเป็นบุคคลข้ามเพศ นอนไบนารี่ หรือมีอัตลักษณ์ทางเพศแบบ gender fluid[1] ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 3% นอกจากนี้ กว่า 43% ยังกล่าวด้วยว่าตนเองมีญาติ เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานที่เป็นบุคคลข้ามเพศ

แม้บุคคลข้ามเพศจะมีบทบาทที่โดดเด่นในสังคมไทย แต่ผู้คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้ตระหนักถึงความท้าทายที่บุคคลเหล่านี้ต้องเผชิญในช่วงกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพศ ในกรณีของผู้หญิงข้ามเพศ ผลวิจัยของวาสลีนชี้ว่าผู้หญิงข้ามเพศกว่า 90% ต้องประสบกับความท้าทายหลากหลายด้านในช่วงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเส้นทางการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจกินระยะเวลาหลายปี โดยผู้หญิงข้ามเพศส่วนใหญ่จะเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุได้ราว 18-20 ปี และกว่า 63% กล่าวว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงเพศของพวกเธอกินระยะเวลา 5 ปีหรือยาวนานกว่านั้น

“การผ่าตัดแปลงเพศหรือการผ่าตัดเพื่อยืนยันเพศนั้น จริงๆ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการข้ามเพศ เมื่อคนๆ นึงรู้ตัวเองว่าเป็นบุคคลข้ามเพศ มีร่างกายกับใจไม่ตรงกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะรู้ตัวตอนวัยรุ่น สิ่งแรกที่เขาจะทำคือการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกที่มองเห็นได้ก่อน เช่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ไว้ผมยาว ใช้เครื่องสำอาง หรือครีมบำรุงผิวพรรณ” นพ. วรพล รัตนเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยแพทย์ตกแต่ง ผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง โรงพยาบาลยันฮี กล่าว

นอกจากการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว อีกกระบวนการสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังใจปรารถนาสำหรับผู้หญิงข้ามเพศ ก็คือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ

“การใช้ฮอร์โมนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงข้ามเพศต้องทำและถือเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดเพื่อยืนยันเพศ โดยแนะนำให้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ซึ่งในกระบวนการผ่าตัดเพื่อยืนยันเพศนั้น โดยทั่วไปมีการกำหนดระยะเวลาการใช้ฮอร์โมนทดแทนก่อนเข้ารับการผ่าตัดไว้ที่ 1 ปี เนื่องจากหลังการผ่าตัดยืนยันเพศแล้ว กระบวนการสร้างฮอร์โมนตามธรรมชาติในร่างกายจะสูญเสียไป การใช้ฮอร์โมนต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อไม่ให้ร่างกายเสียสมดุล ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนจนถึงช่วงอายุที่เข้าสู่วัยทองตามธรรมชาติ คือช่วงอายุ 50-60 ปี” นพ. วรพล อธิบาย

สำหรับผู้หญิงข้ามเพศที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง การมีผิวที่เรียบเนียนสุขภาพดีนั้นส่งผลต่อความมั่นใจในตนเอง อย่างไรก็ดี แม้การใช้ฮอร์โมนทดแทนจะส่งผลให้ผิวพรรณมีความละมุน ดูมีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น แต่ขณะเดียวก็อาจนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ได้ เช่น ภาวะเรื่องอารมณ์ อันเกิดจากความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน รวมไปถึงปัญหาผิว โดยจากผลวิจัยพบว่า 3 ใน 4 ของผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังและความรู้สึกไม่สบายผิวระดับปานกลางถึงรุนแรงในช่วงระหว่างและหลังกระบวนการข้ามเพศ ซึ่งปัญหาผิวหมองคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ และผิวแพ้ง่าย นั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด

 

“เมื่อพูดถึงเรื่องฮอร์โมนกับการเปลี่ยนแปลงเพศ ส่วนใหญ่แล้วเราจะพูดถึงฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้มีลักษณะของเพศหญิง ช่วยรักษาระดับความชุ่มชื้นของผิว ทำให้ผิวเรียบเนียน รูขุมขนเล็กลง แต่ขณะเดียวกัน หากระดับฮอร์โมนไม่สมดุล ไม่ว่าจะมากหรือน้อยไปก็ตาม อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพผิวได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพผิวของผู้หญิงข้ามเพศ เช่น พันธุกรรม ความเครียด มลภาวะและแสงแดด และการนอนหลับ” พญ. สุรัสศวัลย์ วงศ์เกียรติขจร แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง กล่าว

ช่วงแรกเริ่มของการเทคฮอร์โมน เรารู้สึกเลยว่าผิวเรียบเนียนขึ้น แต่พอผ่านไป เราเริ่มสังเกตว่าตัวเองมีตุ่มผดขึ้นบริเวณท้องแขนกับหลัง ซึ่งพอไปปรึกษาคุณหมอ เลยพบว่ามันคือผลของการเทคฮอร์โมนที่มากหรือน้อยเกินไป อีกทั้งช่วงใช้ฮอร์โมน เราสังเกตว่าผิวเราจะไวต่อแสงแดดกว่าปกติ อันอาจนำไปสู่ปัญหาฝ้า กระต่างๆ ได้” นัท นิสามณี เลิศวรพงศ์ อินฟลู
เอ็นเซอร์ผู้หญิงข้ามเพศชื่อดัง
เล่าถึงประสบการณ์ตรงจากการใช้ฮอร์โมนของตนเอง

เพื่อรับมือกับหลากหลายความกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงข้ามเพศกว่า 78% จึงทุ่มเทกับความพยายามด้านความงามเพื่อแสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งสำหรับพวกเธอ การมีผิวสุขภาพดีนั้นเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ โดยผู้หญิงข้ามเพศมากกว่า 9 ใน 10 คน เชื่อว่าการมีผิวพรรณที่น่าพึงพอใจส่งผลต่อความรู้สึกเป็นผู้หญิงและความมั่นใจในตัวเองของพวกเธอเป็นอย่างมาก

“ผิวคืออวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา การดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดผิว การทาครีมกันแดด การทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิวในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งการดูแลผิวขั้นพื้นฐานสำหรับผู้หญิงข้ามเพศ ควรเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารให้ความชุ่มชื้น ปกป้องปราการผิว และช่วยให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น เนื่องจากเวลาที่เราเทคฮอร์โมน ผิวเราจะแห้ง ไวต่อแสงแดด และเสี่ยงที่ผิวจะคล้ำง่าย โดยอาจลองเลือกครีมบำรุงที่มีส่วนผสมที่ช่วยกระตุ้นตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) ที่ผิว เพื่อให้ผิวของเราดูสุขภาพดีขึ้น เช่น สารกลุ่ม​ไอโซฟลาโวน (isoflavone) ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวกระตุ้นตัวรับเอสโตรเจนแล้ว ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ช่วยปกป้องผิวให้แข็งแรงยิ่งขึ้น” พญ. สุรัสศวัลย์ อธิบาย

“สำหรับนัท ผิวที่สวยงามคือผิวที่สุขภาพดี เรียบเนียน และกระชับ ซึ่งเราควรใช้ครีมบำรุงผิวที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเรา และสำหรับผู้หญิงข้ามเพศที่มีปัญหาผิวในช่วงการใช้ฮอร์โมน เช่น ผิวแพ้ง่าย ไวต่อแสง สีผิวไม่สม่ำเสมอ การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนประกอบของ กลูต้า-เซราไมด์ หรือไอโซฟลาโวน จะช่วยเสริมความชุ่มชื้นให้ผิว และทำให้ผิวดูสุขภาพดียิ่งขึ้น” นัท
นิสามณี กล่าว

ด้วยตระหนักถึงความต้องการเฉพาะด้านผิวของผู้หญิงข้ามเพศ วาสลีน ประเทศไทย จึงได้เปิดตัวโลชั่นเวชสำอาง วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น (Vaseline Pro Derma Transition Body Lotion) ที่ผ่านการทดสอบทางคลินิก และพัฒนาร่วมกับผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อผู้หญิงข้ามเพศ เป็นครั้งแรก ผสานเทคโนโลยีกลูต้า-เซราไมด์ ช่วยฟื้นบำรุงปราการ และเสริมเกราะป้องกันผิวที่บอบบาง 4D ไฮยาลูรอนิค แอซิด 1% ซึมลึกสู่ชั้นผิว[2] อย่างล้ำลึกเพื่อเติมเต็มความชุ่มชื้นระดับสูง[3] ไนอะซินาไมด์ 3% จัดการความหมองคล้ำตั้งแต่ต้น ช่วยลดการเกิดจุดด่างดำซ้ำซาก[4] และไอโซฟลาโวน ช่วยให้ผิวสุขภาพดีระหว่างการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเผยโทนสีผิวและพื้นผิวเรียบเนียนที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงของนัทและผู้หญิงข้ามเพศอีกหลายๆ คน ในช่วงเริ่มต้นแน่นอนมันมีการลองผิดลองถูก ต้องอาศัยการประยุกต์ปรับเปลี่ยนสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจากประสบการณ์ของผู้หญิงข้ามเพศคนอื่นๆ ให้เข้ากับเส้นทางของตัวเราเอง แต่ปัจจุบัน เรามองว่าสังคมมีความเปิดกว้างมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องสามารถทำได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อพวกเราก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น ซึ่งนัทดีใจที่ได้เห็นวาสลีน ในฐานะแบรนด์ระดับโลก เปิดตัวผลิตภัณฑ์ วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับบทบาทในการช่วยนำเสนอผลิตภัณฑ์นี้เพื่อผู้หญิงข้ามเพศจริงๆ นัท นิสามณี กล่าวทิ้งท้าย

วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น มีจำหน่ายเฉพาะที่ร้านวัตสันทั่วประเทศไทยและช่องทางออนไลน์ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ facebook.com/VaselineThailand

[1] คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างผู้ชาย/ความเป็นชาย และผู้หญิง/ความเป็นหญิง

[2] ผิวหนังชั้นนอก

[3] ผลทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัคร 32 คน ที่มีการทานหรือฉีดฮอร์โมน โดยบริษัท Derma Proof Asia ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2566

[4] เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล เครื่องสำอางไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสีผิวตามธรรมชาติได้

Skip to content